ถั่วฝักยาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญในภาษาต่างๆที่หลากหลาย เช่น สิบสองปันนาเรียก ถั่วลิ้นนาค ภาษาอังกฤษเรียกว่า yardlong bean (ตรงตัว:ถั่วยาวหนึ่งหลา) ภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า dau gok ภาษาจีนกลางเรียก jiang dou (豇豆) ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายูเรียก kacang panjang ภาษาตากาล็อกเรียก 'SITAO' or 'SITAW' ภาษาอีโลกาโนเรียก utong ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสเรียกว่า bora หรือ bodi ภาษาเบงกาลีเรียกว่า vali, Borboti ในรัฐกัว อินเดียเรียก eeril ภาษาเวียดนามเรียก đậu đũa และภาษาญี่ปุ่นเรียก ju-roku sasage (十六ササゲ) อย่างไรก็ตาม ฝักของถั่วชนิดนี้ยาวเพียงครึ่งหลา ชื่อของสับสปีชีส์ sesquipedalis (หมายถึงยาวฟุตครึ่ง)ใกล้เคียงกับความยาวจริงๆของฝักถั่วมากกว่า
เป็นพืชล้มลุกปีเดียวที่นิยมปลูก และนิยมรับประทานมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีรสหวานกรอบ ใช้รับประทานเป็นผักสด ผักจิ้มน้ำพริก นอกจากนั้น ยังส่งจำหน่ายต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และยุโรป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น เป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนียว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6 -10 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อออกตามซอกใบกลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ฝักเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 - 1 เซนติเมตร ยาว 20 - 80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด[1]
ดอกถั่วฝักยาวจะออกดอกโดยไม่ขึ้นกับช่วงแสง มีอายุการออกดอกแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ได้แก่
– พันธุ์เบา ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 33-42 วัน
– พันธุ์ปานกลาง ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 43-52 วัน
– พันธุ์หนัก ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 53-60 วันดอก ถั่วฝักยาวจะบานในช่วงเช้า และหุบในช่วงบ่ายในวันเดียวกัน และมีการผสมเกสรในวันที่ดอกบาน และหลังจากผสมเกสรแล้ว กลีบดอกจะร่วง และจะมีการพัฒนาของฝัก คุณภาพฝักสดที่ดีจะอยู่ในช่วงวันที่ 6-8 หลังดอกบาน มีรสกรอบ หวาน และมีสารอาหารสูง ฝักยาว 20-60 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายฝักมีสีเขียวหรือสีม่วง
– พันธุ์เบา ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 33-42 วัน
– พันธุ์ปานกลาง ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 43-52 วัน
– พันธุ์หนัก ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 53-60 วันดอก ถั่วฝักยาวจะบานในช่วงเช้า และหุบในช่วงบ่ายในวันเดียวกัน และมีการผสมเกสรในวันที่ดอกบาน และหลังจากผสมเกสรแล้ว กลีบดอกจะร่วง และจะมีการพัฒนาของฝัก คุณภาพฝักสดที่ดีจะอยู่ในช่วงวันที่ 6-8 หลังดอกบาน มีรสกรอบ หวาน และมีสารอาหารสูง ฝักยาว 20-60 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายฝักมีสีเขียวหรือสีม่วง
คุณค่าทางโภชนาการถั่วฝักยาว (104 กรัม)
• พลังงาน : 48.9 กิโลแคลอรี่
• โปรตีน : 2.6 กรัม
• ไขมัน : 0.1 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต : 9.5 กรัม
• วิตามิน
– วิตามิน A : 468 IU
– วิตามิน C : 16.8 มิลลิกรัม
– วิตามิน D : ไม่พบ
– วิตามิน E : ไม่พบ
– วิตามิน K : ไม่พบ
– วิตามิน B6 : ไม่พบ
– วิตามิน B12 : ไม่พบ
– ไทอามีน : 0.1 มิลลิกรัม
– ไรโบฟลาวิน : 0.1 มิลลิกรัม
– ไนอาซีน : 0.7 มิลลิกรัม
– โฟเลท : 46.8 ไมโครกรัม
– กรดเพนโทเทนิก : 0.1มิลลิกรัม
• แร่ธาตุ
– แคลเซียม : 45.8 มิลลิกรัม
– เหล็ก : 1.0 มิลลิกรัม
– แมกนีเซียม : 43.7 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส : 59.3 มิลลิกรัม
– โพแทสเซียม : 302 มิลลิกรัม
– โซเดียม : 4.2 มิลลิกรัม
– สังกะสี : 0.4 มิลลิกรัม
– แมกนีเซียม : 0.2 มิลลิกรัม
– ซีลีเนียม : 1.6 ไมโครกรัม
พันธุ์ถั่วฝักยาว
1. พันธุ์ของทางราชการ ได้แก่
– พันธุ์ ก 2-1A พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร
– พันธุ์ มก. 8 พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1. พันธุ์ของทางราชการ ได้แก่
– พันธุ์ ก 2-1A พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร
– พันธุ์ มก. 8 พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. พันธุ์ของบริษัทเอกชน ได้แก่
– พันธุ์ RW 24
– พันธุ์สองสี
– พันธุ์เขียวดก
– พันธุ์กรีนพอท
– พันธุ์แอร์โรว์
– พันธุ์เอเชียนนิโกร
– พันธุ์เกาชุง
– พันธุ์ RW 24
– พันธุ์สองสี
– พันธุ์เขียวดก
– พันธุ์กรีนพอท
– พันธุ์แอร์โรว์
– พันธุ์เอเชียนนิโกร
– พันธุ์เกาชุง
3. พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่
– พันธุ์ถั่วด้วง จ.สระบุรี
– พันธุ์ดำเนิน จ.ราชบุรี
– พันธุ์พื้นเมืองตรัง
– พันธุ์พื้นเมืองหนองคาย
– พันธุ์ถั่วด้วง จ.สระบุรี
– พันธุ์ดำเนิน จ.ราชบุรี
– พันธุ์พื้นเมืองตรัง
– พันธุ์พื้นเมืองหนองคาย
พันธุ์แบ่งตามสีเมล็ด
1. พันธุ์เมล็ดสีแดง ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียว
2. พันธุ์เมล็ดสีแดงเข้ม ออกดอกสีม่วง ฝักสีม่วงเข้ม
3. พันธุ์เมล็ดสีขาว ออกดอกสีครีม ฝักสีเขียว
4. พันธุ์เมล็ดสีดำ ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียวเข้ม
5. พันธุ์เมล็ดสีแดงด่างขาว ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียว
1. พันธุ์เมล็ดสีแดง ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียว
2. พันธุ์เมล็ดสีแดงเข้ม ออกดอกสีม่วง ฝักสีม่วงเข้ม
3. พันธุ์เมล็ดสีขาว ออกดอกสีครีม ฝักสีเขียว
4. พันธุ์เมล็ดสีดำ ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียวเข้ม
5. พันธุ์เมล็ดสีแดงด่างขาว ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียว
ประโยชน์ถั่วฝักยาว
• ฝักอ่อนใช้รับทานสดหรือรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผักรับประทานกับอาหารจำพวกลาบ น้ำตก ซุบหน่อไม้ เป็นต้น
• ฝักอ่อนใช้ประกอบอาหาร เช่น ตำถั่ว แกงเลียง ผัดถั่ว เป็นต้น
• ยอดอ่อนจากการเพาะเมล็ด นำมาประกอบอาหารจำพวกผัด ให้รสหวานกรอบ
• เมล็ดถั่วฝักยาวชนิดสีแดงหรือแดงเข้มนิยมนำมาทำของหวาน
• เมล็ดถั่วฝักยาวชนิดสีแดงหรือแดงเข้มใช้บดเป็นแป้งสำหรับผสมอาหารหรือทำขนมหวาน
• เมล็ด ยอด และลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น