เกษตรผสมปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก

เกษตรผสมผสานปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก เลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ไก่พื้นเมืองหรือไก่บ้าน

ไก่พื้นเมือง หรือเรียกว่า ไก่บ้าน หรือไก่ไทยเป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ 







– เล้ากว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ 30 – 40 ตัว
– เล้ากว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ 6 – 8 ตัวโรงเรือนไก่พื้นเมือง
โรงเรือนนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกที่ควรคำนึงถึง แบบของโรงเรือนควรเป็นแบบที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก ราคาค่อนข้างต่ำ เพราะทำจากวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะสร้างโรงเรือนแบบใด ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. ระบายอากาศร้อนได้ อากาศถ่ายเทสะดวก กันลมโกรก และกันฝนสาดได้ดี
2. อากาศในโรงเรือนควรเย็นสบาย ไม่อับชื้น
3. สร้างง่าย ประหยัดเงิน
4. ทำความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง
5. สะดวกต่อการเข้าไปปฏิบัติดูแลไก่
ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด
2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด
4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต
   
แนวทางการเพิ่มผลผลิต

1. ควรคัดเลือกตัวไก่ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ โดย 
- คัดพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี เช่น ทรวงอกกว้าง สีเหลืองเข้ม และลึก สง่างาม ดวงตาสดใสเป็นประกาย ขนดกมันงาม แข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น
- ใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ในช่วงอายุที่เหมาะสม ไม่หนุ่มหรือแก่จนเกินไป
- แลกเปลี่ยนหรือซื้อหาพ่อไก่ระหว่างหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด


                               
2. จัดการให้แม่ไก่ฟักไข่และได้ลูกไก่ออกมาเป็นรุ่นพร้อมๆ กัน กระทำได้โดย
- ไม่ให้แม่ไก่ฟักไข่ช่วงหน้าร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ของทุกๆ ปี ไข่ที่ได้ในช่วงนี้ให้นำไปบริโภคหรือจำหน่าย หากแม่ไก่มีพฤติกรรมอยากฟักไข่ ให้นำไปจุ่มน้ำเปียกถึงผิวหนังชุ่มทั้งตัว
- แยกลูกไก่ออกจากแม่เมื่อลูกไก่มีอายุ 7-14 วัน โดยกระทำพร้อมกันหรือไล่เลี่ยทุกแม่ จากนั้นนำแม่ไก่ไปขังรวมกัน และกำหนดตัวพ่อพันธุ์สำหรับใช้ผสมพันธุ์ในแต่ละรุ่น ส่วนลูกไก่นำไปเลี้ยงอย่างดี พร้อมให้อาหารเสริม- แม่ไก่ที่ขังรวมกันจะเริ่มไข่ใหม่และไข่ในเวลาใกล้เคียงกัน การจัดการโดยการจับแม่ไก่ไปจุ่มน้ำให้เปียกถึงผิวหนังชุ่มทั้งตัว เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยลดพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของแม่ไก่ และช่วยให้ไข่ชุดใหม่เร็วขึ้น ทั้งนี้ควรให้อาหารเสริมร่วมด้วย
- เมื่อแยกลูกไก่ทุกๆ รุ่นจากแม่ไก่ทุกแม่เช่นนี้ตลอดไป จะได้ลูกไก่ออกมาเป็นรุ่นๆ มีปริมาณมากพอที่จะทำวัคซีนแต่ละครั้ง สะดวกต่อการให้อาหารเสริม และใช้ยาควบคุมหรือป้องกันโรคได้ เมื่อคำนวณคร่าวๆ จะได้ลูกไก่ 7 รุ่น/แม่/ปี หรือประมาณ 70 ตัว/แม่/ปี ซึ่งไม่นับรวมกับไข่ที่นำไปบริโภคหรือจำหน่ายในช่วงฤดูร้อ

3. ทำวัคซีนป้องกันโรคตามอายุไก่ เช่น นิวคาสเซิล ฝีดาษ อหิวาต์ โดยให้ถูกต้องทั้งชนิดของวัคซีน ความรุนแรงของเชื้อ และวิธีการทำวัคซีน
4. ถ่ายพยาธิกับไก่รุ่นและไก่ใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และควรกำจัดหรือทำลายต้นตอของพยาธิภายนอก เช่น หมัด ไร เห็บ ฯลฯ ทุกครั้งที่พบ
วงจรการผลิตไก่พื้นเมือง
ปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
  1. ปัญหาด้านผลผลิตต่ำ มีสาเหตุมาจาก
    - ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์พ่อแม่ ปล่อยให้ผสมเองตามธรรมชาติ สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมที่ไม่ดีต่อเนื่อง
    - การผสมแบบเลือดชิด คือ ผสมระหว่างพ่อแม่กับลูก หรือพี่กับน้อง เป็นต้น มีผลให้สมรรถภาพการผลิตและการสืบพันธุ์ของไก่รุ่นถัดมาต่ำลง
    - ใช้พ่อไก่คุมฝูงนานเกินไป ก่อให้เกิดอัตราการผสมแบบเลือดชิดเร็วยิ่งขึ้น และคุณภาพของน้ำเชื้อพ่อไก่เลวลง จำนวนลูกไก่ที่เกิดจึงมีน้อย
    - ใช้แม่ไก่ทำพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย และปล่อยให้ขยายพันธุ์นานเกินไป
    - อัตราการไข่และการฟักออกเป็นตัวในช่วงหน้าร้อนต่ำมาก ผู้เลี้ยงมิได้ให้ความสนใจและจัดการดูแลเพิ่มเติม
    - ไม่มีการให้อาหารเสริม โดยเฉพาะช่วงแม่ไก่ก่อนออกไข่ และลูกไก่ระยะแรก จึงเกิดความสูญเสียกับลูกไก่จำนวนมาก
    - แม่ไก่เลี้ยงลูกนานเกินไป ทำให้ได้จำนวนรุ่นของลูกไก่ต่อปีน้อย
  2. ปัญหาด้านอัตราการตาย มีสาเหตุมาจาก
    2.1 ไก่เจริญเติบโตดี แต่ยังมีการตายเกิดขึ้น อาจเนื่องจาก
    - ไม่มีการทำวัคซีน
    - ทำวัคซีนไม่ต่อเนื่อง
    - ชนิดของวัคซีนไม่เหมาะกับอายุไก่
    - ทำวัคซีนไม่ถูกเวลา ตัวไก่ไม่พร้อมต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ในช่วงไก่อ่อนแอ หรือขาดอาหาร เป็นต้น
    - เก็บรักษาวัคซีนไม่ดี ทำให้เสื่อมคุณภาพ หรือวัคซีนหมดอายุ
    - ไม่มีการให้ยาหรือสุขาภิบาลไก่เริ่มป่วย
2.2 ไก่มีการเจริญเติบโตไม่ดี แคระแกร็น และตายในที่สุด อาจมีสาเหตุจาก
- อาหารตามธรรมชาติขาดแคลน และไม่มีการให้อาหารเสริม
- มีตัวเบียนรบกวน ทั้งภายในและภายนอก
- ผลจากการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น