เกษตรผสมปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก

เกษตรผสมผสานปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก เลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรรพคุณและประโยชน์ของผักกวางตุ้ง

สรรพคุณและประโยชน์ของผักกวางตุ้ง


กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน (ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียว ๆ เคี้ยวยากสักหน่อย)
ผักกาดกวางตุ้ง จะมีสารบางชนิดเมื่อถูกความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ซึ่งได้แก่สารไทโอไซยาเนต (thiocyanate) เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ ร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารชนิดนี้จะสลายไปกับไอน้ำเมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่ถ้านำมารับประทานสด ๆ ก็ปลอดภัยเช่นกัน แต่จะมีกลิ่นเขียวบ้างเล็กน้อย

จุดเด่นของผักชนิดนี้จะอยู่ที่คุณค่าทางทางโภชนาการ โดยอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งก็มีประโยชน์มาก ๆ เลยทีเดียว โดยการถนอมวิตามินในผักชนิดนี้ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใส่ไว้ในถุงพลาสติก ปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักในตู้เย็น และการนำผักกวางตุ้งไปประกอบอาหารก็ไม่ควรตั้งไฟนานจนเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินที่อยู่ในผักกวางตุ้งอย่างวิตามินซีและเบตาแคโรทีน (แต่สำหรับเบตาแคโรทีนนั้นจะทนความร้อนได้ดีกว่าวิตามินซี)
กวางตุ้ง เป็นหนึ่งในผักที่มักตรวจพบสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงอยู่บ่อย ๆ การเลือกซื้อผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผู้บริโภคควรระมัดระวังในเรื่องของการเลือกซื้อให้มาก และทำความสะอาดผักก่อนการนำมาปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแช่น้ำส้มสายชู แช่ในน้ำเกลือ หรือจะล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำนานอย่างน้อย 2 นาที ก็จะช่วยลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างในผักชนิดนี้ได้เช่นกัน

ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง

  1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  1. ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
  2. ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก
  3. เชื่อว่ามีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
  4. ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ผักกวางตุ้งช่วยคุณได้ เพราะเป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
  5. การรับประทานผักกวางตุ้งเป็นประจำจะไปทำให้ฟีโรโมน (Pheromone) หลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวหอม
  6. เป็นผักที่มีเส้นใยมากและมีไขมันน้อย ทำให้อิ่มท้อง รับประทานมากแค่ไหนก็ไม่ทำให้อ้วน
  7. นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มจับฉ่าย แกงจืด ผัดผักกวางตุ้ง ฯลฯ

คุณค่าทางโภชนาการของผักกวางตุ้งดิบต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 13 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม
  • เส้นใย 1.0 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • โปรตีน 1.5 กรัม
  • วิตามินเอ 243 ไมโครกรัม 30%
  • วิตามินเอ 4,468 หน่วยสากล
  • วิตามินซี 45 มิลลิกรัม 54%
  • ธาตุแคลเซียม 105 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุแมกนีเซียม 19 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโซเดียม 65 มิลลิกรัม 4%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), www.bedo.or.th, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรรพคุณและประโยชน์ของผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริง ๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ๆแต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน สำหรับผักบุ้งไทยเป็นผักบุ้งสายพันธุ์ธรรมชาติที่ขึ้นเองตามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งจะมียางมากกว่าผักบุ้งจีน ส่วนผักบุ้งจีนเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (แต่ปลูกได้เองแล้วที่เมืองไทย) โดยส่วนมากที่นิยมปลูกขายก็คือผักบุ้งจีน เพราะลำต้นค่อนข้างขาว ใบเขียวอ่อน ดอกขาว มียางน้อยกว่าผักบุ้งไทย จึงได้รับความนิยมในการรับประทานมากกว่าผักบุ้งไทยนั่นเองในผักบุ้ง 100 กรัมจะให้พลังงาน 22 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยเส้นใย วิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกด้วย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ผักบุ้งไทยนั้นจะมีวิตามินซีสูงและสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งจีน แต่จะมีแคลเซียมและเบตาแคโรทีน (วิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา) น้อยกว่าผักบุ้งจีน หากรับประทานสด ๆ ได้ จะทำให้คุณค่าของวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ไม่เสียไปกับความร้อนอีกด้วยผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักบุ้ง เพราะผักบุ้งมีคุณสมบัติไปช่วยลดความดันโลหิต จะทำให้ความดันยิ่งต่ำลงไปใหญ่ อาจจะก่อให้เกิดอาการเป็นตะคริวได้ง่ายและบ่อยขึ้น ทำให้ร่างกายอ่อนแอ


สรรพคุณของผักบุ้ง


  1. มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  3. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
  4. ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ
  5. ต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
  6. ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต
  7. ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
  8. ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท
  9. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผักบุ้ง)
  10. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  11. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  12. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  13. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
  14. ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลือ อมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
  15. ฟันเป็นรูปวด ให้ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก
  16. ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากผักบุ้ง)
  17. แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม
  18. ใช้แก้โรคหืด (รากผักบุ้ง)
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
  20. ช่วยบำรุงธาตุ
  21. ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน
  22. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  23. ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ
  24. ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้
  25. ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง
  26. ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  27. ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  28. ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี (รากผักบุ้ง)
  29. ผักบุ้งรสเย็นมีสรรพคุณช่วยถอนพิษเบื่อเมา
  30. รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนพิษสำแดง
  31. ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร
  32. ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  33. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
  34. ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
  35. ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
  36. แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
  37. ช่วยแก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือ นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด
  38. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  39. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวม
  40. ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  41. ใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดหรือผู้ที่ได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่น เกษตรกร เป็นต้น
  42. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละ เอากากทิ้งแล้วใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด รับประทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

ประโยชน์ของผักบุ้ง
  • นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผัด แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น
  • ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโต ถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)
  • ผักบุ้ง ประโยชน์ข้อสุดท้ายนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งต่อ 100 กรัม
  • พลังงาน 19 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม
  • เส้นใย 2.1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • โปรตีน 2.6 กรัม
  • วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม 39%
  • วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 2 0.1 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามินบี 3 0.9 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 5 0.141 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 6 0.096 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี 9 57 ไมโครกรัม 14%
  • วิตามินซี 55 มิลลิกรัม 66%
  • ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม 20%
  • ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม 2%

ตำลึง

                                                 

 ตำลึง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ต้นตำลึงจัดเป็นไม้เลื้อย โคนใบมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ มีมือเกาะที่ยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว และดอกมีลักษณะคล้ายรูประฆัง
ตำลึง ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยใบและยอดอ่อนของตำลึง 100 กรัม จะให้พลังงานกับร่างกาย 35 กิโลแคลอรี, โปรตีน, ใยอาหาร 1 กรัม, เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU, วิตามินบี 1 0.17 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม, วิตามินซี 34 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม, ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม เป็นต้น


  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมความเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย
  3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เถาแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากผลดิบ นำมาดื่มวันละ 2 รอบ เช้า,เย็น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มระดับอินซูลิน
  6. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง (ใบ, น้ำคั้นตำลึง)
  7. ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดอัมพาตด้วย
  8. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แคลเซียม)
  9. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  10. ช่วยบำรุงเลือด (ใบ)
  11. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (ใบ)
  12. ช่วยป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดแข็ง ตีบตัน และแตกได้
  13. ช่วยบำรุงน้ำนมแม่ (ใบ)
  14. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน (วิตามินซี)
  15. ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
  16. ช่วยลดไข้ (ราก)
  17. ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
  18. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เถาตำลึงชงกับน้ำดื่ม (เถา)
  19. ใช้แก้อาการตาแดง เจ็บตา (ใบ)
  20. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพ์นาน ๆ และมีอาการสายตาอ่อนล้า
  21. แก้อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ด้วยการใช้เถาตำลึง นำน้ำต้มจากเถามาหยอดตา (เถา)
  22. ช่วยแก้อาการตาช้ำแดง ด้วยการตัดเถาเป็นท่อนยาว 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำแล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา (เถา)
  23. แก้อาการตาฝ้า (ราก)
  24. แก้อาการผิดสำแดงเพราะกินของแสลง โดยใช้เถาตำลึงตัดเป็นท่อนยาว 1 คืบ (จำนวน 3-4 ท่อน) นำไปใส่ในหม้อดินสุมไฟด้วยฟางจนไหม้เป็นขี้เถ้า นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำซาวข้าวดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (เถา)
  25. ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการรับประทานใบตำลึงสด ๆ (ใบ)
  26. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้อง (เปลือกราก, หัว)
  27. ช่วยขับสารพิษในลำไส้ (ใบ)
  28. ช่วยป้องกันอาการท้องผูก (ใบ)
  29. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบตำลึงนำมาตำแล้วทาบริเวณที่คัน (ใบ, ดอก)
  30. ช่วยลดอาการคันและการอักเสบเนื่องจากพืชมีพิษหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น หมามุ่ย ถูกตัวบุ้ง ยุงกัด ใบตำแย แพ้ละอองข้าว พิษคูน พิษกาฬ เป็นต้น ด้วยการใช้ใบสด 1 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะหายดี (ใบ)
  31. ช่วยแก้ฝีแดง (ใบ)
  32. ช่วยดับพิษฝี (ใบ)
  33. แก้อักเสบ ด้วยการใช้น้ำจากเถาทาบริเวณที่เป็น (เถา)
  34. ช่วยดับพิษต่าง ๆ (เถา, ราก)
  35. ใช้รักษาแผลอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล (ใบ, ราก)
  36. ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน (ใบ)
  37. ช่วยแก้หิด ด้วยการใช้เมล็ดตำผสมน้ำมันมะพร้าวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
  38. แก้งูสวัด เริม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ (ล้างให้สะอาด) นำมาผสมกับพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  39. ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว (ใบ)



ประโยชน์ของตำลึง


  1. ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ด้วยการใช้ต้นตำลึง (ทั้งเถาและใบ) นำมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้
  2. ใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการใช้ยอดตำลึงครึ่งถ้วยและน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย นำมาผสมกันแล้วปั่นในโถให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก (ยอดตำลึง)
  3. ใช้เป็นยารักษาตาไก่ (ไก่ที่ถูกยุงกัดจนตาบวม เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา) อย่างแรกให้พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน แล้วใช้เถาตำลึงแก่ ๆ (ขนาดเท่านิ้วก้อย) มาตัดเป็นท่อน ๆ (ตัดข้อทิ้ง) แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง หลังจากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออกแล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี (เถา)

  1. ประโยชน์ของผักตำลึง นิยมใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก และใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น (ยอด, ใบ)
  2. ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริก หรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน (ผล)
คำแนะนำ : ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น