เกษตรผสมปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก

เกษตรผสมผสานปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก เลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การเลี้ยงเป็ดเทศ

การเลี้ยงเป็ดเทศ



เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี เป็นเป็ดเทศพันธุ์เนื้อพันธุ์แท้ที่กรมปศุสัตว์ได้วิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และสถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จนถึงปัจจุบัน

การปรับปรุงเริ่มจากเป็ดพันธุ์บาร์บารีจากประเทศฝรั่งเศส กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนพันธุ์มาจาก บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นลูกเป็ดแรกเกิด จำนวน 80 ตัว แยกเป็นเพศผู้ 30 ตัว เพศเมีย 50 ตัว กรมปศุสัตว์โดยสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกงได้ทำการขยายพันธุ์ คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถเลี้ยงง่ายขยายพันธุ์ได้ดี เติบโตเร็ว ต้านทานต่อโรค และปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ และสามารถผลิตได้จำนวนมากในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์ 
ในระยะเริ่มต้น ในปี พ.ศ.2536-2540 กรมปศุสัตว์ได้เริ่มทดสอบนำพันธุ์เป็ดเทศพันธุ์นี้ ส่งเสริมโดยจำหน่ายให้เกษตรกรทั่วไป พบว่า เกษตรกรนิยมมาก เนื่องจากโตเร็ว เลี้ยงส่งตลาดได้ในระยะเวลาสั้น 10-12 สัปดาห์ ถอนขนง่าย ขนสีขาว ตลาดต้องการมาก เนื้อมาก และราคาลูกเป็ดไม่แพงเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ความต้องการมีสูงมาก ซึ่งคาดว่าในอนาตคเป็ดเทศพันธุ์นี้จะเป็นเป็ดที่ผลิตเพื่อบริโภคเนื้อภายในประเทศ ทดแทนเป็ดพันธุ์เนื้ออื่นๆ ทั้งนี้เพราะมีกล้ามเนื้อมาก ไขมันน้อย หนังบาง และกล้ามเนื้อมีสีแดง โคเรสเตอรอลต่ำ เหมาะที่จะบริโภคเพื่อสุขภาพ ที่สำคัญคือ สามารถเลี้ยงได้ทั่วไปไม่ว่าจะเลี้ยงจำนวนมากในเชิงพาณิชย์หรือเลี้ยงหลังบ้านในชนบท


 เริ่มไข่อายุ 6-7 เดือน ไข่ได้ปีละ 150-180 ฟอง และฟักไข่ได้เองเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี ได้รับการวิจัยและพัฒนาให้เป็นพันธุ์แท้ที่สามารถเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อป้อนตลาดได้ในระยะเวลา 10-12 สัปดาห์ หรือจะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ได้โดยตรง หรือนำพันธุ์นี้ไปผสมพันธุ์ข้ามกับสายพันธุ์อื่นก็จะได้ลูกผสมที่มีการเจริญเติบโตทัดเทียมกับพันธุ์แท้ เช่น นำไปผสมกับเป็ดเทศพันธุ์ท่าพระ 2 ซึ่งเป็นเป็ดเทศสีดำพันธุ์พื้นเมือง ก็จะให้ลูกผสมเติบโตเร็วไข่ดกเลี้ยงง่าย แข็งแรงทนทานต่อสภาพการเลี้ยงดูในชนบท เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อย เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและเสริมรายได้ ลูกผสมทั้งเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะพิเศษคือ หัวและคอจะมีสีขาวคล้ายๆ หัวสวมถงเท้าขาว หลังมีขนสีดำเป็นส่วนใหญ่แต่แซมด้วยขนขาวประปราย หน้าอกด่าง รูปร่างใหญ่เหมือนพ่อ เป็นหนุ่มสาวเร็ว เริ่มไข่เมื่ออายุ 5-6 เดือน มีนิสัยฟักไข่ได้เอง ไข่เต็มที่ปีละ 150-160 ฟอง อายุการให้ไข่ 2 ปีแรกให้ไข่สูงสุดและลดลงในปีต่อไป
เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีพันธุ์แท้สามารถเลี้ยงได้ทั้งที่เป็นเป็ดเนื้อขุนส่งตลาดได้ในระยะเวลา 10-12 สัปดาห์ หรือเราจะเลี้ยงไว้ขยายพันธุ์ คือ ใช้ได้ทั้ง 2 วัตถุประสงค์ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ในกรณีที่เลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อส่งตลาดนั้น วิธีการเลี้ยงแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเลี้ยงเป็ดเล็ก อายุ 0-3 สัปดาห์, การเลี้ยงเป็ดระยะเจริญเติบโต อายุ 4-10 สัปดาห์ และ ระยะสุดท้าย 11-12 สัปดาห์
การเลี้ยงเป็ดเทศจะสำเร็จหรือไม่นั้น มีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกเป็ดระยะ 3 สัปดาห์แรกเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าลูกเป็ดนั้นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฟาร์มที่อยู่ในความสนใจของเรา ถ้าลูกเป็ดแข็งแรง เติบโตสม่ำเสมอสมบูรณ์ ไม่อมโรคแล้ว การเลี้ยงในอีก 2 ระยะต่อไปจะไม่ประสบปัญหา ดังนั้น ทุกๆ ฟาร์มจึงควรเอาใจใส่ในระยะแรกนี้เป็นพิเศษ โดยปกติแล้วถ้าลูกเป็ดอายุ 0-3 สัปดาห์ มีความต้องการอย่างยิ่งอยู่ 5 อย่างด้วยกัน คือ ความอบอุ่น อาหารที่มีคุณภาพ น้ำสะอาด การป้องกันโรค และการเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดเข้ามาเลี้ยง



1. การเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดเทศเข้ามาเลี้ยง มีหลายอย่างที่จะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนนำลูกเป็ดเข้าฟาร์ม คือ

1.1 ทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลูกเป็ดระยะแรกโดยการล้างน้ำให้สะอาดแล้วตากแดด 1-2 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค การตระเตรียมกรงกก หรือห้องสำหรับกกลูกเป็ด จะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้ากกลูกเป็ดบนพื้นคอกจะต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกๆ ครั้งที่นำลูกเป็ดเข้าคอกกก

1.2 การสั่งจองลูกเป็ด ก่อนที่จะเลี้ยงเป็ดเทศ ควรจะได้มีการวางแผนว่า ควรจะเลี้ยงช่วงเวลาใดจึงเหมาะสม และเมื่อตัดสินใจแล้วก็ควรจะสั่งจองลูกเป็ดไว้ล่วงหน้า และควรสั่งจองจากโรงฟักที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้ และไม่ไกลเกินไป การขนส่งลูกเป็ดเกินกว่า 24 ชั่วโมงจึงไม่ควรปฏิบัติ เพราะว่าลูกเป็ดจะสูญเสียน้ำระเหยออกจากตัวมาก ทำให้เป็ดน้ำหนักลด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของลูกเป็ดในระยะเวลาต่อมา

1.3 การให้น้ำที่สะอาดแก่ลูกเป็ด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรจะเป็นน้ำที่สะอาด เช่น น้ำใต้ดิน น้ำบาดาล หรือน้ำบ่อตื้น หรือน้ำฝน เป็นน้ำที่สะอาด โดยใส่ไว้ในถังหรือขวดใส่น้ำเป็ดและไก่ ควรจะหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกเป็ดกินน้ำประปา เพราะว่าลูกเป็ดจะตายหรืออ่อนแอมากเมื่อกินน้ำที่มีสารคลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ถ้าหากว่าจำเป็นต้องใช้น้ำประปาเลี้ยงลูกเป็ดระยะแรกแล้ว อาจทำได้โดยต้องเปิดน้ำเก็บไว้ในถังข้ามคืน

1.4 โรงเรือนและอุปกรณ์ จะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าที่สำคัญๆ ได้แก่ โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรจะเป็นโรงเรือนที่สามารถป้องกันลมและฝนได้พร้อมทั้งป้องกันสัตว์ต่างๆ ที่เป็นศัตรู และเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่ลูกเป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นกต่างๆ ถ้าไม่มีโรงเรือสำหรับกกลูกเป็ดโดยเฉพาะ ก็สามารถดัดแปลงบริเวณใต้ถุนบ้าน หรือโรงเก็บวัสดุเกษตร หรือใต้ยุ้งฉางข้าวเป็นที่กกลูกเป็ดก็ได้ แต่ต้องยึกหลักที่ว่า โรงกกลูกเป็ดเทศที่ดี ควรมีช่องระบายอากาศถ่ายเทสะดวก ส่วนใหญ่แล้วโรงกกลูกเป็ดเทศมักจะเป็นโรงเรือนที่มีฝาประตู หน้าต่าง ค่อนข้างจะมิดชิด เพื่อเก็บความอบอุ่นและป้องกันลมแรง ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีช่องระบายอากาศ เพื่อไล่อากาศเสียออกไป เพราะว่าเกี่ยวขอ้งกับความชื้นในคอกลูกเป็ด ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและการแพร่เชื้อโรค สูตรสำเร็จของการเลี้ยงเป็ดเทศพันธุ์นี้ คือ การทำให้พื้นคอกแห้งอยู่เสมอ

2. การกกลูกเป็ดเทศ นับว่าเป็นหัวใจของการเลี้ยงเป็ดเทศเลยทีเดียว เพราะถ้ากกไม่เหมาะสมแล้วจะมีผลกระทบตามมา จึงควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ การกกลูกเป็ดเป็นการทำให้ลูกเป็ดอบอุ่น เริ่มจากเตรียมพื้นคอกให้สะอาด โดยการปูพื้นด้วยวัสดุแห้งหลายชนิด เช่น แกลบ, ฟางข้าว, หญ้า, ซังข้าวโพดบด หรือทรายก็ได้ โดยปูพื้นให้หนาประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อดูดซับมูลลูกเป็ดซึ่งเป็นของเหลวเป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากพื้นกกเปียกแฉะ ลูกเป็ดจะไม่เจริญเติบโต เลี้ยงยาก ติดเชื้อ และอัตราการตายสูง ดังนั้นจึงต้องหมั่นตรวจดูพื้นคอกกกทุกวัน ถ้าหากเปียกชื้นควรกลับแกลบ หรือวัสดุรองพื้นทุกวัน เพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป 
การกกควรจะแบ่งลูกเป็ดออกเป็นคอกๆ ละประมาณ 150-200 ตัว โดยใช้แผงไม้ขัดไม้แตะหรือแผงกระดาษหนาทึบ หรือสังกะสี หรือพลาสติกสูงประมาณ 30-45 ซม. กั้นระหว่างคอก เพื่อป้องกันลูกเป็ดนอนสุมกันในเวลากลางคืน ขนาดของคอกขึ้นอยู่กับอายุของลูกเป็ด 0-1 สัปดาห์ พื้นที่ 1 ตารางเมตร แหล่งของความร้อนที่ใช้กกลูกเป็ดอาจจะใช้เครื่องกกลูกไก่ไฟฟ้าที่มีจำหน่ายทั่วไป หรือประกอบเองก็ได้ โดยทำเป็นโครงไม้ขนาด 1X2 เมตร ยกพื้นสูง 30-45 ซม. แขวนหลอดไฟขนาด 60 วัตต์ 2 หลอด ห่างกัน 50-60 ซม. ปูสังกะสี เสื่อลำแพนไม้อัด หรือวัสดุอื่นๆ เช่น กระสอบป่านปูทับโครงไม้ด้านบนเพื่อเก็บความร้อนไว้ให้ลูกเป็ดได้อบอุ่น, วางกกไว้ตรงกลางห้องจะสามารถกกลูกเป็ดได้ 200 ตัว ในระยะแรกลูกเป็ด อายุ 2-3 วัน ควรทำแผงกั้นรอบบริเวณเครื่องกกป้องกันไว้ไม่ให้ลูกเป็ดหลงทางหนีห่างจากเครื่องกก  วันต่อๆ ไปจึงขยับแผงกั้นห่างออกไปจนที่สุดไม่ต้องกั้น 
นอกจากนี้ยังกกลูกเป็ดในตะกร้าไม้ไผ่หรือกล่องกระดาษ หรือสุ่มไก่โดยมีหลักว่าใช้ผ้าหรือกระสอบคลุมเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกเป็ด วิธีการกกลูกเป็ดอีกวิธีหนึ่งซึ่งสามารถลดปัญหาความเปียกชื้นของพื้นคอกจากกาที่ลูกเป็ดเล่นน้ำ และเกิดจากลูกเป็ดขี้เหลว คือ การกกบนตาข่ายยกสูงจากพื้น 10-15 ซม. ซึ่งวางเรียงกันบนพื้นซีเมนต์ที่ลาดเอียง ลูกเป็ดจะปล่อยเลี้ยงบนพื้นลวดตาข่ายและมีรางน้ำ อาหาร และไฟกกอยู่พร้อม ลูกเป็ดถ่ายมูลออกมาและน้ำที่หกก็จะตกกลงลนพื้นซีเมนต์ แล้วเราก็ใช้น้ำฉีดบ้างพื้นคอกได้ทุกวัน เพราะพื้นได้ทำให้ลาดเอียงไว้อยู่แล้ว เป็นวิธีที่นิยมมาก เรากกลูกเป็ดเพียง 1-2 สัปดาห์เท่านั้นก็พอ โดยเฉพาะฤดูร้อนอาจจะกกเพียง 9-10 วันก็พอ แต่ฤดูหนาวอาจจะกก 10-21 วัน ในทางปฏิบัติกันทั่วไปคือ การกกลูกเป็ดในโรงกก 9-10 วัน แล้วปล่อยออกไปเลี้ยงในบ่อน้ำที่จัดไว้ให้เป็ดเล่น หรือถ้าหากไม่มีบ่อน้ำก็สามารถเลี้ยงลูกเป็ดปล่ยในแปลงหญ้าที่มีต้นไม้ให้ร่มเงาหรือ จะเลี้ยงภายในคอกกักบริเวณโดยไม่จำเป็นจะต้องมีน้ำให้ลูกเป็ดเล่นก็ได้ แต่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอด อุณหภูมิที่ใช้กกขึ้นอยู่กับอายุเป็ดและอุณหภูมิของอากาศ ถ้าอากาศร้อนระหว่างเวลา 10-15 นาฬิกา ของทุกวัน อากาศร้อนเราก็ไม่จำเป็นจะต้องเปิดไฟกก สังเกตได้จากลูกเป็ดจะไม่อยู่ให้กก จะการะจายอยู่รอบๆ หรือลูกเป็ดหายใจหอบอ้าปากหายใจ แสดงว่าร้อนจัด ลูกเป็ดจะสูญเสียน้ำหนักมากและอ่อนแอไม่กินอาหารและตายในที่สุด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับกกลูกเป็ด 



2.1 วัสดุรองพื้นคอกกก ถ้ากกบนพื้นดินควรรองพื้นด้วยวัสดุที่ดูดซับความชื้นได้ดี เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ดินทราย ซังข้าวโพด การจัดการด้านวัสดุรองพื้น นับว่าสำคัญมากเช่นเดียวกับการควบคุมความอบอุ่น วัสดุรองพื้นที่เปียกชื้นควรนำออกไปทิ้งหรือไม่ก็เติมวัสดุลงไปอีก โดยเฉพาะวัสดุที่อยู่ใกล้ถาดน้ำ มักจะเปียกแฉะจากการที่ลูกเป็ดชอบเล่นน้ำ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีป้องกันหรือย้ายที่ตั้งขวดน้ำบ่อยๆ

2.2 ความชื้นภายในคอกลูกเป็ดประมาณ 65-75% ถ้าหากความชื้นภายในคอกสูงเกินไป ควรจะต้องปรับปรุงช่องระบายอากาศให้กว้างขึ้นหรือทำให้ลมพัดเข้าออกให้มากขึ้น เพื่อลดความชื้นให้ลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม แนะนำไม่ควรใช้ผ่า หรือพลาสติกหุ้มรอบๆ คอกจะมืดทึบตลอดวัน ควรปิดเฉพาะกลางคืนที่มีอากาศหนาวเย็น

2.3 การปล่อยให้ลูกเป็ดเล่นน้ำ ในระยะแรกๆ 1-3 สัปดาห์ ลูกเป็ดจะยังไม่จำเป็นที่เล่นน้ำ อาบน้ำ จึงกกไว้ในโรงกกก่อน เพราะว่าเมื่อเล็กๆ นี้ อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้น้ำในร่างการของลูกเป็ดยังไม่พัฒนา เราจึงเลี้ยงโดยไม่ให้เล่นน้ำ แต่ว่ามีบางกรณีที่ลูกเป็ดเปื้อน สกปรก อาจจะให้ลูกเป็ดเล่นน้ำได้เพื่อล้างสิ่งสกปรกออก โดยปล่อยให้เล่นน้ำในเวลาที่มีแสงแดดจัด เช่น ใกล้เที่ยง หรือบ่าย 1-2 โมง และจำกัดให้เล่นน้ำเพียง 5-10 นาที และไล่ขึ้นตากแดดให้ขนแห้ง แล้วจึงต้อนไปในคอกต่อไป 

2.4 การให้แสงสว่าง ในระยะแรกเราจำเป็นต้องให้แสงสว่างตลอดเวลา โดยอาศัยไฟจากกรงกกในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันก็ใช้แสงธรรมชาติ การให้แสงสว่างอย่างต่อเนื่องตลอดวันระยะอายุ 2 วันแรก จะช่วยให้ลูกเป็ดได้กินน้ำและอาหารอย่างพอเพียง ทำให้ลูกเป็ดแข็งแรง แสงสว่างที่ใช้ในเวลากลางคืนเราใช้หลอดไฟนีออนขนาด 20 วัตต์ หรือหลอดสว่างขนาด 40 วัตต์ ต่อพื้นที่คอกกก 30 ตารางเมตร

3. การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด การให้อาหารลูกเป็ดระยะ 2 วันแรก ควรมช้อาหารผสมชนิดผงคลุกน้ำพอหมาดๆ ใส่ในภาชนะแบนๆ มีขอบเตี้ยๆ เช่น ถาดสังกะสีหรือไม่ก็โดยบนกล่องกระดาษที่ส่งลูกเป็ด แต่แกะกล่องกระดาษให้วางเรียบๆ บนพื้น อาหารควรเป็นอาหารลูกเป็ดระยะอายุ 0-3 สัปดาห์ เป็นอาหารที่มีโปรตีน 17-18% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,890 กิโลแคลอรี่ รายละเอียดของสูตรอาหารแสดงไว้ในตารางที่ 2 อาหารและน้ำควรจะวางไว้อยู่ใกล้เครื่องกก ห่างประมาณ 20-30 ซม. เพื่อให้ลูกเป็ดกินอาหารได้สะดวกและอยู่ใกล้ไฟหลังจาก 2 วันแรกให้วางอาหารค่อยๆ ห่างจากไฟกกออกไป 1-1.5 เมตร และขยับให้ห่างออกเรื่อยๆ สุดท้ายให้ห่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การให้น้ำอาจจะใส่ในขวดพลาสติก สำหรับให้น้ำเป็ดและไก่ที่มีจำหน่ายในตลาด หรือใส่ภาชนะอื่นที่หาได้ และให้วางอยู่ใกล้อาหาร ควรเป็นน้ำสะอาดไม่มีสารเคมี คลอรีน  ถังน้ำ ขวดน้ำ รางน้ำ ควรทำความสะอาดทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้งลูกเป็ดอายุครบ 2 สัปดาห์ ความต้องการทางด้านกกเพื่อให้ความอบอุ่นจะลดลงหรือไม่ต้องกกเลยก็ได้ ทั้งนี้เพราะว่าลูกเป็ดมีขนขึ้นเต็มลำตัว และลูกเป็ดกินอาหารได้ดีจนสามารถสร้างความอบอุ่นขึ้นได้เองอย่างเพียงพอ ลูกเป็ดอายุ 3-8 สัปดาห์จะมีการเจริญเติบโตสูง ดังนั้นเกษตรกรเจ้าของฟาร์มจึงต้องควรเอาใจใส่ในด้านอาหาร การให้อาหารและส่วนประกอบของอาหารที่ถูกต้อง 
จำนวนอาหารที่ให้เป็ดกินและการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

1. การจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การเลี้ยงลูกเป็ดระยะเจริญเติบโตนี้ไม่ค่อยจะยุ่งยาก เราสามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้อยู่รวมกันเป็นฝูง, เลี้ยงในโรงเรือนมีหลังคาและกั้นห้องให้อยู่กันเป็นห้องๆ หรือ อาจเลี้ยงปล่อยทุ่งไล่ต้อนกลับคอกในตอนเย็น หรือเลี้ยงในโรงเลี้ยงเป็ดที่มีลานดินยื่นออกมานอกโรงเรือนให้ลูกเป็ดเล่นน้ำและพักผ่อนในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนให้ขังในโรงเรือน ข้อสำคัญของการเลี้ยงเป็ดระยะนี้ คืออย่าขังเป็ดรวมกันให้แน่นเกินไปถ้าหากเป็ดแน่นแล้วลูกเป็ดจะจิกกัน โดยเฉพาะถ้าหากเราให้อาหารไม่เพียงพอหรืออาหารมีส่วนประกอบไม่ได้สัดส่วน ลูกเป็ดจะยิ่งจิกขนและกินขนกันมากยิ่งขึ้น ข้อแนะนำคือ ให้ลูกเป็ดอยู่ระหว่าง 4-5 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ในกรณีบางฟาร์มมีพื้นที่มีบ่อน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งธรรมชาติ ก็สามารถปล่อยเลี้ยงได้โดยไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนแต่มีร่มเงาต้นไม้เหรือเพิงบังแดด ข้อดีวิธีนี้คือ เป็ดมีอิสระไม่จิกขนกันทำให้ขนสวยเป็นมัน ข้อสำคัญขอให้มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา

2. การให้อาหาร ลูกเป็ดระยะนี้มีการเจริญเติบโตสูง ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงจึงควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพสูงเหมาะสมกับอัตราการเจริญเติบโตและอายุของลูกเป็ดด้วย นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงปริมาณที่ให้กินต่อวัน และตรวจสอบน้ำหนักของลูกเป็ดให้อยุ่ในมาตรฐานด้วย 
โดยปกติแล้วเราให้อาหารลูกเป็ดวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า 7-8 โมงเช้า และบ่าย 4-5 โมงเย็น อาหารที่ให้เป็นอาหารชนิดผงคลุกน้ำให้ชื้นพอหมาดๆไม่ถึงกับเปียกแฉะ ซึ่งจะทำให้ลูกเป็ดกินได้ง่ายและไม่ตกหล่นมาก อาหารที่คลุกน้ำแล้วจะถูกเทใส่ในรางไม้หรือถังใส่อาหารสัตว์ชนิดแขวนบรรจุ 4-5 กิโลกรัม ก็แล้วแต่สะดวก อาจเทบนกระสอบหรือภาชนะแบนๆ วางอยู่กลางคอกและวางอยู่ไกลน้ำดื่ม 3-4 เมตร ควรจัดหารางอาหารให้พอเหมาะกับจำนวนเป็ด รางอาหารที่เป็นรางไม้ที่เป็ดกินได้ทั้งสองข้างขนาดยาว 1 เมตร เลี้ยงเป็ดได้ 40-50 ตัว จำนวนอาหารที่ให้ในแต่ละครั้งควรใกล้เคียงกับมาตรฐาน พร้อมกันนี้สุ่มลูกเป็ด 10% มาชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์

หมายเหตุการเลี้ยงเป็ดเทศทุกๆ พันธุ์ หรือแม้แต่เป็ดพันธุ์ไข่ เกษตรกร ควรทราบว่าอาหารเป็ดทุกๆ อายุ ไม่ควรจะใช้ข้าวโพดผสม เพราะข้าวโพดมีสารพิษ อัลฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็ดทุกชนิดจะแพ้และไม่ต้านทานต่อสารพิษ ลูกเป็ดเทศที่เลี้ยงด้วยข้าวโพดจะแคระแกรน จิกขน กินขน หนาว ตัวสั่น และตายนอนหงายขาชี้ฟ้า คอบิด อัตราการตายสูง เป็ดเทศแม่พันธุ์ไข่ลดและหยุดไข่

ถ้าต้องการขุนเป็ดเทศร่งส่งตลาดในระยะสั้น เกษตรกรควรให้อาหารเต็มที่ ให้กินตลอดเวลา อาหารไม่จำเป็นต้องคลุกน้ำ ถ้าต้องการลดค่าอาหารควรเสริมด้วยผักสด หญ้าสด ใบถั่วสดหรือผักตบชวาหั่น คลุกกับอาหารผสม เลี้ยงเช้า-เย็น


วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรรพคุณและประโยชน์ของผักกวางตุ้ง

สรรพคุณและประโยชน์ของผักกวางตุ้ง


กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน (ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียว ๆ เคี้ยวยากสักหน่อย)
ผักกาดกวางตุ้ง จะมีสารบางชนิดเมื่อถูกความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ซึ่งได้แก่สารไทโอไซยาเนต (thiocyanate) เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ ร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารชนิดนี้จะสลายไปกับไอน้ำเมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่ถ้านำมารับประทานสด ๆ ก็ปลอดภัยเช่นกัน แต่จะมีกลิ่นเขียวบ้างเล็กน้อย

จุดเด่นของผักชนิดนี้จะอยู่ที่คุณค่าทางทางโภชนาการ โดยอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งก็มีประโยชน์มาก ๆ เลยทีเดียว โดยการถนอมวิตามินในผักชนิดนี้ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใส่ไว้ในถุงพลาสติก ปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักในตู้เย็น และการนำผักกวางตุ้งไปประกอบอาหารก็ไม่ควรตั้งไฟนานจนเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินที่อยู่ในผักกวางตุ้งอย่างวิตามินซีและเบตาแคโรทีน (แต่สำหรับเบตาแคโรทีนนั้นจะทนความร้อนได้ดีกว่าวิตามินซี)
กวางตุ้ง เป็นหนึ่งในผักที่มักตรวจพบสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงอยู่บ่อย ๆ การเลือกซื้อผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผู้บริโภคควรระมัดระวังในเรื่องของการเลือกซื้อให้มาก และทำความสะอาดผักก่อนการนำมาปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแช่น้ำส้มสายชู แช่ในน้ำเกลือ หรือจะล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำนานอย่างน้อย 2 นาที ก็จะช่วยลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างในผักชนิดนี้ได้เช่นกัน

ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง

  1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  1. ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
  2. ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก
  3. เชื่อว่ามีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
  4. ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ผักกวางตุ้งช่วยคุณได้ เพราะเป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
  5. การรับประทานผักกวางตุ้งเป็นประจำจะไปทำให้ฟีโรโมน (Pheromone) หลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวหอม
  6. เป็นผักที่มีเส้นใยมากและมีไขมันน้อย ทำให้อิ่มท้อง รับประทานมากแค่ไหนก็ไม่ทำให้อ้วน
  7. นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มจับฉ่าย แกงจืด ผัดผักกวางตุ้ง ฯลฯ

คุณค่าทางโภชนาการของผักกวางตุ้งดิบต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 13 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม
  • เส้นใย 1.0 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • โปรตีน 1.5 กรัม
  • วิตามินเอ 243 ไมโครกรัม 30%
  • วิตามินเอ 4,468 หน่วยสากล
  • วิตามินซี 45 มิลลิกรัม 54%
  • ธาตุแคลเซียม 105 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุแมกนีเซียม 19 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโซเดียม 65 มิลลิกรัม 4%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), www.bedo.or.th, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรรพคุณและประโยชน์ของผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริง ๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ๆแต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน สำหรับผักบุ้งไทยเป็นผักบุ้งสายพันธุ์ธรรมชาติที่ขึ้นเองตามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งจะมียางมากกว่าผักบุ้งจีน ส่วนผักบุ้งจีนเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (แต่ปลูกได้เองแล้วที่เมืองไทย) โดยส่วนมากที่นิยมปลูกขายก็คือผักบุ้งจีน เพราะลำต้นค่อนข้างขาว ใบเขียวอ่อน ดอกขาว มียางน้อยกว่าผักบุ้งไทย จึงได้รับความนิยมในการรับประทานมากกว่าผักบุ้งไทยนั่นเองในผักบุ้ง 100 กรัมจะให้พลังงาน 22 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยเส้นใย วิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกด้วย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ผักบุ้งไทยนั้นจะมีวิตามินซีสูงและสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งจีน แต่จะมีแคลเซียมและเบตาแคโรทีน (วิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา) น้อยกว่าผักบุ้งจีน หากรับประทานสด ๆ ได้ จะทำให้คุณค่าของวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ไม่เสียไปกับความร้อนอีกด้วยผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักบุ้ง เพราะผักบุ้งมีคุณสมบัติไปช่วยลดความดันโลหิต จะทำให้ความดันยิ่งต่ำลงไปใหญ่ อาจจะก่อให้เกิดอาการเป็นตะคริวได้ง่ายและบ่อยขึ้น ทำให้ร่างกายอ่อนแอ


สรรพคุณของผักบุ้ง


  1. มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  3. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
  4. ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ
  5. ต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
  6. ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต
  7. ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
  8. ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท
  9. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผักบุ้ง)
  10. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  11. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  12. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  13. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
  14. ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลือ อมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
  15. ฟันเป็นรูปวด ให้ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก
  16. ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากผักบุ้ง)
  17. แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม
  18. ใช้แก้โรคหืด (รากผักบุ้ง)
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
  20. ช่วยบำรุงธาตุ
  21. ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน
  22. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  23. ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ
  24. ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้
  25. ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง
  26. ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  27. ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  28. ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี (รากผักบุ้ง)
  29. ผักบุ้งรสเย็นมีสรรพคุณช่วยถอนพิษเบื่อเมา
  30. รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนพิษสำแดง
  31. ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร
  32. ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  33. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
  34. ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
  35. ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
  36. แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
  37. ช่วยแก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือ นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด
  38. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  39. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวม
  40. ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  41. ใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดหรือผู้ที่ได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่น เกษตรกร เป็นต้น
  42. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละ เอากากทิ้งแล้วใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด รับประทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

ประโยชน์ของผักบุ้ง
  • นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผัด แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น
  • ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโต ถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)
  • ผักบุ้ง ประโยชน์ข้อสุดท้ายนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งต่อ 100 กรัม
  • พลังงาน 19 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม
  • เส้นใย 2.1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • โปรตีน 2.6 กรัม
  • วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม 39%
  • วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 2 0.1 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามินบี 3 0.9 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 5 0.141 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 6 0.096 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี 9 57 ไมโครกรัม 14%
  • วิตามินซี 55 มิลลิกรัม 66%
  • ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม 20%
  • ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม 2%

ตำลึง

                                                 

 ตำลึง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ต้นตำลึงจัดเป็นไม้เลื้อย โคนใบมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ มีมือเกาะที่ยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว และดอกมีลักษณะคล้ายรูประฆัง
ตำลึง ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยใบและยอดอ่อนของตำลึง 100 กรัม จะให้พลังงานกับร่างกาย 35 กิโลแคลอรี, โปรตีน, ใยอาหาร 1 กรัม, เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU, วิตามินบี 1 0.17 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม, วิตามินซี 34 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม, ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม เป็นต้น


  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมความเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย
  3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เถาแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากผลดิบ นำมาดื่มวันละ 2 รอบ เช้า,เย็น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มระดับอินซูลิน
  6. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง (ใบ, น้ำคั้นตำลึง)
  7. ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดอัมพาตด้วย
  8. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แคลเซียม)
  9. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  10. ช่วยบำรุงเลือด (ใบ)
  11. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (ใบ)
  12. ช่วยป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดแข็ง ตีบตัน และแตกได้
  13. ช่วยบำรุงน้ำนมแม่ (ใบ)
  14. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน (วิตามินซี)
  15. ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
  16. ช่วยลดไข้ (ราก)
  17. ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
  18. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เถาตำลึงชงกับน้ำดื่ม (เถา)
  19. ใช้แก้อาการตาแดง เจ็บตา (ใบ)
  20. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพ์นาน ๆ และมีอาการสายตาอ่อนล้า
  21. แก้อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ด้วยการใช้เถาตำลึง นำน้ำต้มจากเถามาหยอดตา (เถา)
  22. ช่วยแก้อาการตาช้ำแดง ด้วยการตัดเถาเป็นท่อนยาว 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำแล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา (เถา)
  23. แก้อาการตาฝ้า (ราก)
  24. แก้อาการผิดสำแดงเพราะกินของแสลง โดยใช้เถาตำลึงตัดเป็นท่อนยาว 1 คืบ (จำนวน 3-4 ท่อน) นำไปใส่ในหม้อดินสุมไฟด้วยฟางจนไหม้เป็นขี้เถ้า นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำซาวข้าวดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (เถา)
  25. ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการรับประทานใบตำลึงสด ๆ (ใบ)
  26. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้อง (เปลือกราก, หัว)
  27. ช่วยขับสารพิษในลำไส้ (ใบ)
  28. ช่วยป้องกันอาการท้องผูก (ใบ)
  29. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบตำลึงนำมาตำแล้วทาบริเวณที่คัน (ใบ, ดอก)
  30. ช่วยลดอาการคันและการอักเสบเนื่องจากพืชมีพิษหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น หมามุ่ย ถูกตัวบุ้ง ยุงกัด ใบตำแย แพ้ละอองข้าว พิษคูน พิษกาฬ เป็นต้น ด้วยการใช้ใบสด 1 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะหายดี (ใบ)
  31. ช่วยแก้ฝีแดง (ใบ)
  32. ช่วยดับพิษฝี (ใบ)
  33. แก้อักเสบ ด้วยการใช้น้ำจากเถาทาบริเวณที่เป็น (เถา)
  34. ช่วยดับพิษต่าง ๆ (เถา, ราก)
  35. ใช้รักษาแผลอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล (ใบ, ราก)
  36. ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน (ใบ)
  37. ช่วยแก้หิด ด้วยการใช้เมล็ดตำผสมน้ำมันมะพร้าวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
  38. แก้งูสวัด เริม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ (ล้างให้สะอาด) นำมาผสมกับพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  39. ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว (ใบ)



ประโยชน์ของตำลึง


  1. ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ด้วยการใช้ต้นตำลึง (ทั้งเถาและใบ) นำมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้
  2. ใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการใช้ยอดตำลึงครึ่งถ้วยและน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย นำมาผสมกันแล้วปั่นในโถให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก (ยอดตำลึง)
  3. ใช้เป็นยารักษาตาไก่ (ไก่ที่ถูกยุงกัดจนตาบวม เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา) อย่างแรกให้พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน แล้วใช้เถาตำลึงแก่ ๆ (ขนาดเท่านิ้วก้อย) มาตัดเป็นท่อน ๆ (ตัดข้อทิ้ง) แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง หลังจากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออกแล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี (เถา)

  1. ประโยชน์ของผักตำลึง นิยมใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก และใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น (ยอด, ใบ)
  2. ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริก หรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน (ผล)
คำแนะนำ : ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

ถั่วฝักยาว


ถั่วฝักยาว (ชื่อวิทยาศาสตร์Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญในภาษาต่างๆที่หลากหลาย เช่น สิบสองปันนาเรียก ถั่วลิ้นนาค ภาษาอังกฤษเรียกว่า yardlong bean (ตรงตัว:ถั่วยาวหนึ่งหลาภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า dau gok ภาษาจีนกลางเรียก jiang dou (豇豆) ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายูเรียก kacang panjang ภาษาตากาล็อกเรียก 'SITAO' or 'SITAW' ภาษาอีโลกาโนเรียก utong ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสเรียกว่า bora หรือ bodi ภาษาเบงกาลีเรียกว่า valiBorboti ในรัฐกัว อินเดียเรียก eeril ภาษาเวียดนามเรียก đậu đũa และภาษาญี่ปุ่นเรียก ju-roku sasage (十六ササゲ) อย่างไรก็ตาม ฝักของถั่วชนิดนี้ยาวเพียงครึ่งหลา ชื่อของสับสปีชีส์ sesquipedalis
 (หมายถึงยาวฟุตครึ่ง)ใกล้เคียงกับความยาวจริงๆของฝักถั่วมากกว่า

เป็นพืชล้มลุกปีเดียวที่นิยมปลูก และนิยมรับประทานมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีรสหวานกรอบ ใช้รับประทานเป็นผักสด ผักจิ้มน้ำพริก นอกจากนั้น ยังส่งจำหน่ายต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และยุโรป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนียว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6 -10 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อออกตามซอกใบกลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ฝักเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 - 1 เซนติเมตร ยาว 20 - 80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด[1]
ดอกถั่วฝักยาวจะออกดอกโดยไม่ขึ้นกับช่วงแสง มีอายุการออกดอกแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ได้แก่
– พันธุ์เบา ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 33-42 วัน
– พันธุ์ปานกลาง ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 43-52 วัน
– พันธุ์หนัก ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 53-60 วัน
ดอก ถั่วฝักยาวจะบานในช่วงเช้า และหุบในช่วงบ่ายในวันเดียวกัน และมีการผสมเกสรในวันที่ดอกบาน และหลังจากผสมเกสรแล้ว กลีบดอกจะร่วง และจะมีการพัฒนาของฝัก คุณภาพฝักสดที่ดีจะอยู่ในช่วงวันที่ 6-8 หลังดอกบาน มีรสกรอบ หวาน และมีสารอาหารสูง ฝักยาว 20-60 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายฝักมีสีเขียวหรือสีม่วง



คุณค่าทางโภชนาการถั่วฝักยาว (104 กรัม)
• พลังงาน : 48.9 กิโลแคลอรี่
• โปรตีน : 2.6 กรัม
• ไขมัน : 0.1 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต : 9.5 กรัม
• วิตามิน
– วิตามิน A : 468 IU
– วิตามิน C : 16.8 มิลลิกรัม
– วิตามิน D : ไม่พบ
– วิตามิน E : ไม่พบ
– วิตามิน K : ไม่พบ
– วิตามิน B6 : ไม่พบ
– วิตามิน B12 : ไม่พบ
– ไทอามีน : 0.1 มิลลิกรัม
– ไรโบฟลาวิน : 0.1 มิลลิกรัม
– ไนอาซีน : 0.7 มิลลิกรัม
– โฟเลท : 46.8 ไมโครกรัม
– กรดเพนโทเทนิก : 0.1มิลลิกรัม
• แร่ธาตุ
– แคลเซียม : 45.8 มิลลิกรัม
– เหล็ก : 1.0 มิลลิกรัม
– แมกนีเซียม : 43.7 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส : 59.3 มิลลิกรัม
– โพแทสเซียม : 302 มิลลิกรัม
– โซเดียม : 4.2 มิลลิกรัม
– สังกะสี : 0.4 มิลลิกรัม
– แมกนีเซียม : 0.2 มิลลิกรัม
– ซีลีเนียม : 1.6 ไมโครกรัม

พันธุ์ถั่วฝักยาว
1. พันธุ์ของทางราชการ ได้แก่
– พันธุ์ ก 2-1A พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร
– พันธุ์ มก. 8 พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. พันธุ์ของบริษัทเอกชน ได้แก่
– พันธุ์ RW 24
– พันธุ์สองสี
– พันธุ์เขียวดก
– พันธุ์กรีนพอท
– พันธุ์แอร์โรว์
– พันธุ์เอเชียนนิโกร
– พันธุ์เกาชุง
3. พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่
– พันธุ์ถั่วด้วง จ.สระบุรี
– พันธุ์ดำเนิน จ.ราชบุรี
– พันธุ์พื้นเมืองตรัง
– พันธุ์พื้นเมืองหนองคาย
พันธุ์แบ่งตามสีเมล็ด
1. พันธุ์เมล็ดสีแดง ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียว
2. พันธุ์เมล็ดสีแดงเข้ม ออกดอกสีม่วง ฝักสีม่วงเข้ม
3. พันธุ์เมล็ดสีขาว ออกดอกสีครีม ฝักสีเขียว
4. พันธุ์เมล็ดสีดำ ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียวเข้ม
5. พันธุ์เมล็ดสีแดงด่างขาว ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียว


ประโยชน์ถั่วฝักยาว
• ฝักอ่อนใช้รับทานสดหรือรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผักรับประทานกับอาหารจำพวกลาบ น้ำตก ซุบหน่อไม้ เป็นต้น
• ฝักอ่อนใช้ประกอบอาหาร เช่น ตำถั่ว แกงเลียง ผัดถั่ว เป็นต้น
• ยอดอ่อนจากการเพาะเมล็ด นำมาประกอบอาหารจำพวกผัด ให้รสหวานกรอบ
• เมล็ดถั่วฝักยาวชนิดสีแดงหรือแดงเข้มนิยมนำมาทำของหวาน
• เมล็ดถั่วฝักยาวชนิดสีแดงหรือแดงเข้มใช้บดเป็นแป้งสำหรับผสมอาหารหรือทำขนมหวาน
• เมล็ด ยอด และลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนสูง

แตงกวา


แตงกวา
แตงกวา ชื่อสามัญ Cucumber
แตงกวา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis sativus L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงกวา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน (ภาคเป็น) เป็นต้น

ลักษณะของแตงกวา

  • ต้นแตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษาง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร (ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น



  • ใบแตงกวา ก้านใบยาว 5 –15เซนติเมตร มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ทั้งลำต้นและใบมีขนหยาบ
  • ดอกแตงกวา ลักษณะดอกแตงกวามีกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวเมียมีลูกแตงกวาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ส่วนดอกตัวผู้สังเกตที่ด้านหน้าดอกมีเกสรยื่นออกเล็กน้อยและไม่มีลูกเล็ก ๆ ติดที่โคนดอก ผลแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวตั้งแต่ 5-40 เซนติเมตร ไส้ภายในผลประกอบด้วยเมล็ดมากมาย



สรรพคุณของแตงกวา

  1. แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
  2. ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
  3. แตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  4. ผลและเมล็ดอ่อนมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านมะเร็ง
  5. ช่วยลดความดันโลหิต (เถาแตงกวา)
  6. ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี
  7. ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย (โพแทสเซียม, แมงกานีส)
  8. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด (แมกนีเซียม)
  9. ช่วยเสริมสร้างการทำความของระบบประสาท เพิ่มความจำ (ผล, เมล็ดอ่อน)
  10. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล, เมล็ด)
  11. เส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำ เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  12. ช่วยแก้ไข้ (น้ำแตงกวา)
  13. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยใช้นำคั้นจากผลแตงกวานำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
  14. ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ (น้ำแตงกวา)
  15. ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
  16. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
  17. ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
  18. น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
  19. ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
  20. น้ำแตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
  21. ช่วยลดอาการบวมน้ำ
  22. จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็กและมดลูกให้หดตัว กระตุ้นการสร้างแบคทีเรีย ยับยั้งไทรอยด์เป็นพิษ ต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยฆ่าพยาธิ กระตุ้นการสร้าง interferon ช่วยไล่แมลง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลบรอยแผลเป็น เป็นต้น
  23. แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน (Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine) ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย
  24. แตงกวามีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่าและช่วยต้านเชื้อวัณโรคได้ การดื่มนำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะช่วยบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี และยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วยแตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก อาหารจานเดียว ฯลฯ ช่วยผ่อนคลายความเผ็ด และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว

ประโยชน์ของแตงกวา

  • ในปัจจุบันมีการใช้น้ำแตงกวานำไปผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ อย่างเช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมแตงกวา ครีมบำรุงผิว ครีมลดริ้วรอย ครีมกันแดด โลชั่น เพื่อช่วยป้องกันผิวแห้งกร้าน ช่วยในการสมานผิว ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล เป็นต้น
  • เมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวาไข่ต้ม ต้มจืดแตงกวายัดไส้ ตำแตง ยำแตงกวาปลาทูน่า พล่าแตงกวาหมูย่าง แตงกวาผัดไข่ แตงกวาดอง ฯลฯ
  • ทรีตเมนต์จากแตงกวาช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ลดจุดด่างดำ ช่วยบำรุงทำให้ผิวหน้าอ่อนเยาว์ เพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้หน้ามัน ทำให้ผิวขาวใส ช่วยบำรุงดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ตาบวม บำรุงเส้นผม ป้องกันผมเสีย ฯลฯ

    ตงกวาเป็นผักที่ได้รับความนิยมมาก นิยมนำมารับประทานเคียงกับน้ำพริกต่าง ๆ ลาบ อาหารจานเดียว อย่างข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก ก็จะมีแตงกวาประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะเป็นผักที่มีน้ำมาก จึงช่วยในการผ่อนคลายความเผ็ดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยแก้เลี่ยนในอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวาพร้อมเปลือก ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 16 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 3.63 กรัม
  • น้ำตาล 1.67 กรัม
  • เส้นใย 0.5 กรัม
  • ไขมัน 0.11 กรัม
  • โปรตีน 0.65 กรัม
  • น้ำ 95.23 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.027 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2 0.033 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 3 0.098 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 5 0.259 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 6 0.04 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 9 7 ไมโครกรัม 2%
  • วิตามินซี 2.8 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 16 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุเหล็ก 0.28 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมงกานีส 0.079 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโพแทสเซียม 147 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุฟลูออไรด์ 1.3 ไมโครกรัม 11%

ทรีตเมนต์แตงกวา

  1. แตงกวาพอกหน้าสูตรป้องกันสิวและสิวหัวดำ ด้วยการใช้เนื้อแตงกวานำมาขูดเป็นฝอยแล้วใช้พอกบริเวณหน้าและลำคอทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที หมั่นทำบ่อย ๆ ก็จะช่วยป้องกันการเกิดสิวต่าง ๆ ได้
  2. สูตรหน้าขาว ด้วยการใช้น้ำคั้นจากผลแตงกวาและนมสดในปริมาณเท่ากัน แล้วเติมน้ำลอยกลีบกุหลาบประมาณ 3 หยด แล้วนำมาทาหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จะช่วยทำให้ผิวหน้านุ่มและดูขาวยิ่งขึ้น
  3. สูตรหน้าใส ด้วยการใช้น้ำลอยกลีบกุหลาบและน้ำมะนาวเล็กน้อย (น้ำลอยกลีบกุหลาบควรใช้กลีบมากหน่อย น้ำน้อย ๆ เพื่อให้มีน้ำมันหอมจากกลีบกุหลาบอยู่ในน้ำ) แล้วนำมาผสมกับน้ำคั้นแตงกวา นำมาทาบนผิวหน้าก็ช่วยทำให้ผิวหน้าดูสดใสยิ่งขึ้น (เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่มีผิวมัน)
  4. สูตรหน้าใส ไร้สิว ผิวเกลี้ยงเกลา ด้วยการใช้แตงกวาผ่าครึ่ง 1 ซึก, สตรอว์เบอร์รี 2 ลูก, น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และน้ำขิงสดคั้นจากราก นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงไปในเครื่องปั่น แล้วปั่นจนเนื้อเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก (อาจรู้สึกแสบ ๆคันบ้าง สำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่ายอาจต้องระวังสักนิด)
  5. สูตรบำรุงผิวพรรณ ลดเลือนริ้วรอย ด้วยการใช้น้ำคั้นจากแตงกวา น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำผึ้ง น้ำลอยกลีบกุหลาบ และกลีเซอรีนอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วนำมาใช้ทาบริเวณผิว จะช่วยทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์และตึงกระชับมากยิ่งขึ้น
  6. สูตรผิวนุ่มชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง บรรเทาอาการอักเสบและช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ด้วยสูตรแตงกวาและน้ำผึ้ง โดยการใช้น้ำผึ้ง 8 ออนซ์, น้ำมะนาว 10 หยด และแตงกวาฝานแผ่นบาง ๆ ขั้นตอนแรกให้นำน้ำผึ้งผสมกับน้ำมะนาว แล้วทาลงบนใบหน้าแล้วนวดประมาณ 15 นาที แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออก หลังจากนั้นก็วางแผ่นแตงกวาลงบนใบหน้าทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก โดยแตงกวาจะช่วยดูดซับสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ใต้ผิว ทำให้ผิวเย็น ตึง และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวโดยไม่ทำให้หน้ามัน เมื่อครบ 10 นาทีแล้วก็ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออกอีกครั้งเป็นอันเสร็จ
  7. สูตรกระชับรูขุมขน ด้วยโลชันน้ำผลไม้ ขั้นตอนแรกให้เตรียมน้ำแตงกวา น้ำมะเขือเทศ น้ำแตงโม และน้ำมะนาว อย่างละ 1 ช้อนชา แล้วนำมาผสมให้เขากัน จากนั้นให้ใช้สำลีแต้มส่วนผสมแล้วเช็ดเบา ๆ ให้ทั่วบริเวณใบหน้า ก็จะช่วยสมานผิวทำให้รูขุมขนดูกระชับแทนการใช้โทนเนอร์ได้
  8. สูตรลดรอยด่างดำบนผิว ด้วยการดื่มน้ำจากผลแตงกวา และทาน้ำแตงกวาผสมกับน้ำกลีบกุหลาย (อัตราส่วนเท่ากัน) ลงบนผิวที่มีรอย ก็จะช่วยลดรอยด่างดำบนผิวหนัง และรอยจากการถูกยุงกัดได้
  9. สูตรแก้ปัญหาผิวไหม้จากแสงแดดด้วยโลชันแตงกวา จากสูตรน้ำแตงกวาคั้นผสมกับกลีเซอรีน 1/2 ช้อนชา แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกแดดเผา ก็จะช่วยฟื้นฟูสภาพผิว เพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยลดการอักเสบได้อีกด้วย
  10. สูตรบำรุงผิวรอบดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ด้วยการใช้แตงกวานำมาหั่นเป็นแว่นตามขวาง แล้วนำมาวางบนเปลือกตาแล้วนอนในที่เงียบสลัว ๆ ก็จะช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตาได้เป็นอย่างดี
  11. สูตรลดถุงใต้ตา ด้วยการใช้น้ำคั้นจากผลแตงกวาประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำคั้นจากมันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาทาบริเวณใต้ตาหรือรอบดวงตา ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  12. สูตรลดอาการตาบวม เนื่องมาจากการนอนดึกหรือจากการร้องไห้ วิธีการก็คือให้นำแตงกวาแช่เย็นมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำมาวางบนเปลือกตา หลับตาลงนอนพักทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ก็จะช่วยลดอาการตาบวมได้
  13. สูตรแก้อาการแสบตา ระคายเคืองตา ปวดกล้ามเนื้อตา ใต้ตาคล้ำ ตาแห้ง ตาพร่ามัว ด้วยการใช้แตงกวาแช่เย็นที่หั่นเป็นแว่นมาวางบริเวณดวงตาประมาณ 10 นาที แล้วพักสายตาในห้องมืด ๆ ก็จะช่วยทำให้ดวงตากลับมามีชีวิตชีวาเหมือนเดิม
  14. สูตรลดรอยหมองคล้ำใต้รักแร้ หลังอาบน้ำเสร็จเช็ดตัวให้แห้งแล้วให้เตรียมน้ำคั้นจากแตงกวา 1 ช้อนชา, น้ำมะนาว 1 ช้อนชา, น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ และผงขมิ้นครึ่งช้อนชา แล้วใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าวนำมาเช็ดบริเวณรักแร้ หลังจากนั้นให้ผสมน้ำคั้นแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นให้เข้ากัน แล้วนำมาทาบริเวณรักแร้ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก ควรทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
  15. สูตรป้องกันผมเสียจากคลอรีน ด้วยการผสมไข่ 1 ฟอง, น้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา, เนื้อแตงกวา 1/4 ผล แล้วนำมาชโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก

    วิธีทำน้ำคั้นจากแตงกวา

    • น้ําแตงกวาให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ แตงกวา 2 ผล, น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำมะนาวครึ่งลูก, น้ำแข็ง 1 ถ้วย และน้ำเปล่า 2 ถ้วย
    • นำส่วนผสมที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในโถปั่น แล้วปั่นให้ละเอียดจนเป็นเนื้อเดียวกัน รินใส่แก้ว เป็นอันเสร็จ
    • ปริมาณส่วนผสมดังกล่าวสามารถปรับได้ตามใจชอบ หรือจะใส่ผลไม้ชนิดอื่นอย่างแตงโม แคนตาลูป ฯลฯ ลงไปด้วยก็ได้
    • จากสูตรสามารถใช้น้ำเพียง 1 ถ้วย ปั่นเสร็จเทใส่แก้วแล้วเติมโซดาเย็น ๆ 1 ถ้วยแทนก็ใช้ได้เหมือนกัน
    คำแนะนำ : ถ้าจะนำแตงกวามาปั่นทานทุกวันก็ไม่อาจจะไม่ค่อยเป็นผลดีต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ เพราะแตงกวามีกรดยูริก (ซึ่งอยู่ในน้ำเมือกใส ๆ) โดยเฉพาะถ้าเป็นการนำมาปั่นสด ๆ แล้วรับประทานทุกวัน ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไป ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด ก็จะไปสะสมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแคลเซียมในกระบวนการสร้างเซลล์กระดูก ความแข็งแรงของเม็ดเลือด ผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดอาการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ (ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้ออยู่แล้วก็ควรระวังให้มาก)