จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นแบคทีเรียพบกระจาย ทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งนาจืด นาเค็ม ทะเลสาบนาเค็ม นาทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง นาที่มี ความเป็นกรด นาพุร้อน ทะเลบริเวณขัวโลกเหนือ นอกจากนี ยังพบตามแหล่งน าเสีย บ่อบาบัดนาเสีย บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสำคัญในกระบวนการนาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี้ ยังมีบทบาท สำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมา ใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทประศุสัตว์สามารถบาบัดด้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Kobayashi, 2000)จุลินทรีย์สีแดงหรือแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (PHOTOSYNTHETIC BACTERIA) ใช้ในงานเกษตรกรรมต่างๆอุตสาหกรรม หลากหลาย ใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลกมานานกว่า 50 ปี โดยเฉพาะญี่ปุ่นให้ความส าคัญกับจุลินทรีย์ตัวนี้ ได้ให้ประชาชน ทุกๆ วงการรู้และเข้าใจในประโยชน์ของจุลินทรีย์นี้อย่างกว้างขวางจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง SUN SMILE เป็นจุลินทรีย์ที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ทั่วไปที่ใช้กันอยู่ เพราะจุลินทรีย์เหล่านั้นส่วน ใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่สามารถทนทานต่อภาวะที่มีแสงได้ ความแข็งแรงและทนทานมีสภาวะที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ ประสิทธิภาพการใช้ในงานต่างๆได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเท่าที่ควร SUN SMILE เป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ได้รับการเลือกสายพันธุ์พิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้ในที่มี แสงสว่างได้ดี และที่มีแสงสว่างน้อย ทั้งที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน PHODOPSEUDOMONAS SP ใช้แสงเป็นแหล่งพลังงานอยู่ในสภาพไม่มีออกซิเจนได้ และยังสามารถตรึง ไนโตรเจนได้ เป็นแหล่งอาหารของพืชและสัตว์ PSUDOMONAS SP สามารถลดระดับไนเตรตที่มีมากเกินพอ (ลดการเน่าเสียและกลิ่นเหม็น)จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแบ่งออกเป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วง(purple photosynthetic bacteria) และ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีเขียว (green photosynthetic bacteria) แต่ สำหรับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วงที่นำมาใช้ในทางด้านการเกษตร และสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่จะอยู่ ในกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วงกลุ่มไม่สะสมกำมะถัน ซึ่งพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติใน ชั้นน้ำที่มีแสงสว่างส่องถึงมีสารอินทรีย์ และพบการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในแหล่งน้ำที่ไม่มีออกซิเจนมี แสงเล็กน้อย ในแหล่งน้ำจืดที่มีซัลไฟด์อยู่จะพบน้อยมาก แต่บางชนิดก็อาศัยอยู่ได้ในที่ที่มีปริมาณ ซัลไฟด์อยู่สูง นอกจากนี้ ยังพบได้ในพื้นดิน สระน้ำ คลอง หรือแหล่งน้ำที่สกปรก เช่น บ่อบำบัดน้ำ เสีย ซึ่งมีปริมาณสารอินทรีย์สูง จึงเป็นแหล่งที่จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่มดังกล่าวเจริญได้ดี เช่น Rhodopseudomonas capsulate , R. sphaeroldesผู้ประสานงานโครงการจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อการเกษตรและ สิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่ามีการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในไทย ประมาณ 30 ปีแล้ว แต่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ EM หรือน้ำหมักชีวภาพซึ่งไม่สามารถจำแนก ได้ว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้างหรือมีคุณสมบัติอะไรที่แน่นอนส่วนการใช้ประโยชน์จากสายพันธุ์แบคทีเรียที่ทราบแน่ชัดนั้น ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้กับการ เกษตร ซึ่งพิสูจน์แน่ชัดว่าใช้ได้ผลจริง โดยใช้เพิ่มผลผลิตข้าวที่เพิ่มถึง 3 เท่า และทำให้เมล็ดข้าวใหญ่ ขึ้น 2 เท่า ทั้งนี้ เพราะแบคทีเรียช่วยปรับสภาพดินให้เหมาะกับการดูดซึมสารอาหารของรากข้าวโดย ย่อยสลายสารเคมีบางตัวที่ต่อต้านการเจริญเติบโตของรากข้าว ซึ่งใช้แบคทีเรียในรูปส่วนผสมของปุ๋ย อินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงยังใช้เป็นอาหารเสริมให้กับสัตว์เนื่องจากแบคทีเรียมีโปรตีนที่จำเป็น ต่อสัตว์ อีกทั้งแบคทีเรียบางสายพันธุ์ยังผลิตสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งมีสีแดงออกส้มเมื่อ ผสมอาหารให้ไก่กินจะช่วยเพิ่มสีให้ไข่แดงของไก่ สารดังกล่าวได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยในปี (2004) ได้รายงานว่า ดินในบริเวณรากข้าวในระยะข้าวตั้งท้อง จะมีสภาวะแบบไม่มี ออกซิเจนทำให้แบคทีเรียที่ในกลุ่มแอนแอโรบิคแบคทีเรียเจริญได้ดี สร้างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ขึ้นมา ทำให้มีผลไปยับยั้งกระบวนการสร้างเมตาโบลิซึมของรากข้าวซึ่งเป็นพิษต่อราก แต่เมื่อน้ำ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใส่ลงในดินในระยะเวลาดังกล่าว จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะเปลี่ยน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ให้อยู่ในรูปสารประกอบซัลเฟอร์ ที่ไม่เป็นพิษต่อราก จึงมีผลให้รากของต้นข้าว เจริญงอกงามมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและลักษณะของต้นข้าวก็มีความแข็งแรง ซึ่งมีผลให้ผลผลิตของ ข้าวมากขึ้น ตามไปด้วยประโยชน์จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง SUN SMILE บ้าบัดน้ำเสีย ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมในการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมทางเคมี ช่วยป้องกัน มลพิษทางอากาศช่วยก าจัดของเสียและแร่ธาตุที่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น คลอไรด์(CHLORIDE),ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (HYDROGEN SULFIDE) หรือก๊าชไข่เน่า,เมอร์แคปตัน (MERCAPTAN) ไดอะมายด์ (DIAMINE) ,ลดค่า BOD ธาตุ โคบอลต์ ค่าความเป็นกรด สารแขวนลอย ฯลฯ
วงการสัตว์น ้าและปศุศัตว์ - ในวงการปศุสัตว์และสัตว์น้ำ นำไปผสมเป็นอาหารเสริมเพราะเซลล์ของจุลินทรีย์นี้ประกอบด้วยโปรตีนสูงถึง ร้อย ละ 60-65 มีกรดอะมิโนที่จ าเป็นครบถ้วนและยังมีวิตามินแร่ธาตุ เช่น วิตามิน บี 1 กรดฟอลิค (B9) วิตามิน ดี วิตามิน บี 2 วิตามิน บี12 วิตามิน อี วิตามิน บี 3 วิตามิน ซี วัตถุสีแดง(CAROTENOID) และให้สารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูนิควิโนน โคเอนไซม์ Q ออกซิน ไซโตไคนิน ซีเอติน กรดบิวทีริกและกรดอะซิติก
เป็นสารอาหารเสริมในสัตว์ แข็งแรง ปลอดโรค โตไว มีคุณภาพเพิ่มผลผลิต - ควบคุมน้ำเสียในบ่อสัตว์น้ำ ลดปัญหาโรคต่างๆในน้ำ อัตรารอดสูงและเพิ่มปริมาณผลผลิตมากขึ้น - กำจัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มทำให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรงต้านทานโรคดี ผลผลิตสูง
วงการเกษตร ใช้ในนาข้าว,พืชไร่,ไม้ผล,ไม้ประดับ ฯลฯ - ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลงถึง 50 % - ลดก๊าชไข่เน่าในดิน ช่วยให้รากพืชขยายได้ดีและกินปุ๋ยได้ดีขึ้น เพิ่มผลผลิตมากขึ้นไม่ต่ ากว่า 30 % - เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการใช้เพิ่มผลผลิตข้าวได้มากถึงไร่ละ 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะดินในบริเวณราก ข้าวจะเกิดแก๊สไข่เน่า(ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งไปยับยั้งการดูดซึมของรากข้าว แต่ SUN SMILE จะไปเปลี่ยนแก๊ส ไข่เน่าให้ไปอยู่ในรูปสารประกอบซัลเฟอร์ที่ไม่เป็นพิษต่อรากท าให้รากข้าวเจริญงอกงามสามารถดูดซึมอาหารให้ ต้นข้าวแข็งแรงและขจัดสารพิษในนา - ส่วนในพืชอื่นๆก็เช่นกันช่วยท าให้รากของพืชแข็งแรงสามารถหาอาหารได้เก่งสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น และ SUN SMILE ยังมีโปรตีนสูงและวิตามินแร่ธาตุมากมาย เป็นประโยชน์กับพืชอย่างมากเพิ่มคุณภาพผลผลิต - พืชมีความแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงต่างๆได้ดี - ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน เช่น ไมคอริซ่า,อาโซโตแบคเตอร์ ฯลฯ
สรุปประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
1. ช่วยลดก๊าซไฮโดรซัลไฟด์ (H2S) ในดินช่วยให้รากของพืชขยายได้ดีและทำให้พืชกินปุ๋ยได้ดีขึ้น
2. ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลง 50 %
3. ช่วยให้ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 % เนื่องจากพืชมีความสามารถในการดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ช่วย ให้พืชมีความแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี
4. เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น B1 B2 B6 B12 กรดโฟลิค วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี รงควัตถุสีแดง (carotenoid) และสารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูบิควิโนน โคเอนไซม์คิวเท็น ไซโตไคนิน ซีเอติน ออกซิน กรดอินโดล -3- อะซิติก (Indole-3-acetic acid : IAA) กรดอินโดล -3-บิวทีริก (Indole-3-butyric acid : IBA) ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น