เกษตรผสมปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก

เกษตรผสมผสานปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก เลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

ถั่วฝักยาว


ถั่วฝักยาว (ชื่อวิทยาศาสตร์Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญในภาษาต่างๆที่หลากหลาย เช่น สิบสองปันนาเรียก ถั่วลิ้นนาค ภาษาอังกฤษเรียกว่า yardlong bean (ตรงตัว:ถั่วยาวหนึ่งหลาภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า dau gok ภาษาจีนกลางเรียก jiang dou (豇豆) ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายูเรียก kacang panjang ภาษาตากาล็อกเรียก 'SITAO' or 'SITAW' ภาษาอีโลกาโนเรียก utong ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสเรียกว่า bora หรือ bodi ภาษาเบงกาลีเรียกว่า valiBorboti ในรัฐกัว อินเดียเรียก eeril ภาษาเวียดนามเรียก đậu đũa และภาษาญี่ปุ่นเรียก ju-roku sasage (十六ササゲ) อย่างไรก็ตาม ฝักของถั่วชนิดนี้ยาวเพียงครึ่งหลา ชื่อของสับสปีชีส์ sesquipedalis
 (หมายถึงยาวฟุตครึ่ง)ใกล้เคียงกับความยาวจริงๆของฝักถั่วมากกว่า

เป็นพืชล้มลุกปีเดียวที่นิยมปลูก และนิยมรับประทานมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีรสหวานกรอบ ใช้รับประทานเป็นผักสด ผักจิ้มน้ำพริก นอกจากนั้น ยังส่งจำหน่ายต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และยุโรป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนียว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6 -10 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อออกตามซอกใบกลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ฝักเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 - 1 เซนติเมตร ยาว 20 - 80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด[1]
ดอกถั่วฝักยาวจะออกดอกโดยไม่ขึ้นกับช่วงแสง มีอายุการออกดอกแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ได้แก่
– พันธุ์เบา ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 33-42 วัน
– พันธุ์ปานกลาง ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 43-52 วัน
– พันธุ์หนัก ดอกบาน 50% เมื่ออายุ 53-60 วัน
ดอก ถั่วฝักยาวจะบานในช่วงเช้า และหุบในช่วงบ่ายในวันเดียวกัน และมีการผสมเกสรในวันที่ดอกบาน และหลังจากผสมเกสรแล้ว กลีบดอกจะร่วง และจะมีการพัฒนาของฝัก คุณภาพฝักสดที่ดีจะอยู่ในช่วงวันที่ 6-8 หลังดอกบาน มีรสกรอบ หวาน และมีสารอาหารสูง ฝักยาว 20-60 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายฝักมีสีเขียวหรือสีม่วง



คุณค่าทางโภชนาการถั่วฝักยาว (104 กรัม)
• พลังงาน : 48.9 กิโลแคลอรี่
• โปรตีน : 2.6 กรัม
• ไขมัน : 0.1 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต : 9.5 กรัม
• วิตามิน
– วิตามิน A : 468 IU
– วิตามิน C : 16.8 มิลลิกรัม
– วิตามิน D : ไม่พบ
– วิตามิน E : ไม่พบ
– วิตามิน K : ไม่พบ
– วิตามิน B6 : ไม่พบ
– วิตามิน B12 : ไม่พบ
– ไทอามีน : 0.1 มิลลิกรัม
– ไรโบฟลาวิน : 0.1 มิลลิกรัม
– ไนอาซีน : 0.7 มิลลิกรัม
– โฟเลท : 46.8 ไมโครกรัม
– กรดเพนโทเทนิก : 0.1มิลลิกรัม
• แร่ธาตุ
– แคลเซียม : 45.8 มิลลิกรัม
– เหล็ก : 1.0 มิลลิกรัม
– แมกนีเซียม : 43.7 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส : 59.3 มิลลิกรัม
– โพแทสเซียม : 302 มิลลิกรัม
– โซเดียม : 4.2 มิลลิกรัม
– สังกะสี : 0.4 มิลลิกรัม
– แมกนีเซียม : 0.2 มิลลิกรัม
– ซีลีเนียม : 1.6 ไมโครกรัม

พันธุ์ถั่วฝักยาว
1. พันธุ์ของทางราชการ ได้แก่
– พันธุ์ ก 2-1A พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร
– พันธุ์ มก. 8 พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. พันธุ์ของบริษัทเอกชน ได้แก่
– พันธุ์ RW 24
– พันธุ์สองสี
– พันธุ์เขียวดก
– พันธุ์กรีนพอท
– พันธุ์แอร์โรว์
– พันธุ์เอเชียนนิโกร
– พันธุ์เกาชุง
3. พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่
– พันธุ์ถั่วด้วง จ.สระบุรี
– พันธุ์ดำเนิน จ.ราชบุรี
– พันธุ์พื้นเมืองตรัง
– พันธุ์พื้นเมืองหนองคาย
พันธุ์แบ่งตามสีเมล็ด
1. พันธุ์เมล็ดสีแดง ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียว
2. พันธุ์เมล็ดสีแดงเข้ม ออกดอกสีม่วง ฝักสีม่วงเข้ม
3. พันธุ์เมล็ดสีขาว ออกดอกสีครีม ฝักสีเขียว
4. พันธุ์เมล็ดสีดำ ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียวเข้ม
5. พันธุ์เมล็ดสีแดงด่างขาว ออกดอกสีม่วง ฝักสีเขียว


ประโยชน์ถั่วฝักยาว
• ฝักอ่อนใช้รับทานสดหรือรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผักรับประทานกับอาหารจำพวกลาบ น้ำตก ซุบหน่อไม้ เป็นต้น
• ฝักอ่อนใช้ประกอบอาหาร เช่น ตำถั่ว แกงเลียง ผัดถั่ว เป็นต้น
• ยอดอ่อนจากการเพาะเมล็ด นำมาประกอบอาหารจำพวกผัด ให้รสหวานกรอบ
• เมล็ดถั่วฝักยาวชนิดสีแดงหรือแดงเข้มนิยมนำมาทำของหวาน
• เมล็ดถั่วฝักยาวชนิดสีแดงหรือแดงเข้มใช้บดเป็นแป้งสำหรับผสมอาหารหรือทำขนมหวาน
• เมล็ด ยอด และลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนสูง

แตงกวา


แตงกวา
แตงกวา ชื่อสามัญ Cucumber
แตงกวา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis sativus L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงกวา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน (ภาคเป็น) เป็นต้น

ลักษณะของแตงกวา

  • ต้นแตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษาง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร (ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น



  • ใบแตงกวา ก้านใบยาว 5 –15เซนติเมตร มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ทั้งลำต้นและใบมีขนหยาบ
  • ดอกแตงกวา ลักษณะดอกแตงกวามีกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวเมียมีลูกแตงกวาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ส่วนดอกตัวผู้สังเกตที่ด้านหน้าดอกมีเกสรยื่นออกเล็กน้อยและไม่มีลูกเล็ก ๆ ติดที่โคนดอก ผลแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวตั้งแต่ 5-40 เซนติเมตร ไส้ภายในผลประกอบด้วยเมล็ดมากมาย



สรรพคุณของแตงกวา

  1. แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
  2. ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
  3. แตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  4. ผลและเมล็ดอ่อนมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านมะเร็ง
  5. ช่วยลดความดันโลหิต (เถาแตงกวา)
  6. ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี
  7. ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย (โพแทสเซียม, แมงกานีส)
  8. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด (แมกนีเซียม)
  9. ช่วยเสริมสร้างการทำความของระบบประสาท เพิ่มความจำ (ผล, เมล็ดอ่อน)
  10. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล, เมล็ด)
  11. เส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำ เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  12. ช่วยแก้ไข้ (น้ำแตงกวา)
  13. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยใช้นำคั้นจากผลแตงกวานำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
  14. ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ (น้ำแตงกวา)
  15. ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
  16. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
  17. ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
  18. น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
  19. ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
  20. น้ำแตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
  21. ช่วยลดอาการบวมน้ำ
  22. จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็กและมดลูกให้หดตัว กระตุ้นการสร้างแบคทีเรีย ยับยั้งไทรอยด์เป็นพิษ ต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยฆ่าพยาธิ กระตุ้นการสร้าง interferon ช่วยไล่แมลง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลบรอยแผลเป็น เป็นต้น
  23. แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน (Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine) ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย
  24. แตงกวามีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่าและช่วยต้านเชื้อวัณโรคได้ การดื่มนำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะช่วยบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี และยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วยแตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก อาหารจานเดียว ฯลฯ ช่วยผ่อนคลายความเผ็ด และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว

ประโยชน์ของแตงกวา

  • ในปัจจุบันมีการใช้น้ำแตงกวานำไปผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ อย่างเช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมแตงกวา ครีมบำรุงผิว ครีมลดริ้วรอย ครีมกันแดด โลชั่น เพื่อช่วยป้องกันผิวแห้งกร้าน ช่วยในการสมานผิว ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล เป็นต้น
  • เมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวาไข่ต้ม ต้มจืดแตงกวายัดไส้ ตำแตง ยำแตงกวาปลาทูน่า พล่าแตงกวาหมูย่าง แตงกวาผัดไข่ แตงกวาดอง ฯลฯ
  • ทรีตเมนต์จากแตงกวาช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ลดจุดด่างดำ ช่วยบำรุงทำให้ผิวหน้าอ่อนเยาว์ เพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้หน้ามัน ทำให้ผิวขาวใส ช่วยบำรุงดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ตาบวม บำรุงเส้นผม ป้องกันผมเสีย ฯลฯ

    ตงกวาเป็นผักที่ได้รับความนิยมมาก นิยมนำมารับประทานเคียงกับน้ำพริกต่าง ๆ ลาบ อาหารจานเดียว อย่างข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก ก็จะมีแตงกวาประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะเป็นผักที่มีน้ำมาก จึงช่วยในการผ่อนคลายความเผ็ดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยแก้เลี่ยนในอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวาพร้อมเปลือก ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 16 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 3.63 กรัม
  • น้ำตาล 1.67 กรัม
  • เส้นใย 0.5 กรัม
  • ไขมัน 0.11 กรัม
  • โปรตีน 0.65 กรัม
  • น้ำ 95.23 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.027 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2 0.033 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 3 0.098 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 5 0.259 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 6 0.04 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 9 7 ไมโครกรัม 2%
  • วิตามินซี 2.8 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 16 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุเหล็ก 0.28 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมงกานีส 0.079 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโพแทสเซียม 147 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุฟลูออไรด์ 1.3 ไมโครกรัม 11%

ทรีตเมนต์แตงกวา

  1. แตงกวาพอกหน้าสูตรป้องกันสิวและสิวหัวดำ ด้วยการใช้เนื้อแตงกวานำมาขูดเป็นฝอยแล้วใช้พอกบริเวณหน้าและลำคอทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที หมั่นทำบ่อย ๆ ก็จะช่วยป้องกันการเกิดสิวต่าง ๆ ได้
  2. สูตรหน้าขาว ด้วยการใช้น้ำคั้นจากผลแตงกวาและนมสดในปริมาณเท่ากัน แล้วเติมน้ำลอยกลีบกุหลาบประมาณ 3 หยด แล้วนำมาทาหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จะช่วยทำให้ผิวหน้านุ่มและดูขาวยิ่งขึ้น
  3. สูตรหน้าใส ด้วยการใช้น้ำลอยกลีบกุหลาบและน้ำมะนาวเล็กน้อย (น้ำลอยกลีบกุหลาบควรใช้กลีบมากหน่อย น้ำน้อย ๆ เพื่อให้มีน้ำมันหอมจากกลีบกุหลาบอยู่ในน้ำ) แล้วนำมาผสมกับน้ำคั้นแตงกวา นำมาทาบนผิวหน้าก็ช่วยทำให้ผิวหน้าดูสดใสยิ่งขึ้น (เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่มีผิวมัน)
  4. สูตรหน้าใส ไร้สิว ผิวเกลี้ยงเกลา ด้วยการใช้แตงกวาผ่าครึ่ง 1 ซึก, สตรอว์เบอร์รี 2 ลูก, น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และน้ำขิงสดคั้นจากราก นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงไปในเครื่องปั่น แล้วปั่นจนเนื้อเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก (อาจรู้สึกแสบ ๆคันบ้าง สำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่ายอาจต้องระวังสักนิด)
  5. สูตรบำรุงผิวพรรณ ลดเลือนริ้วรอย ด้วยการใช้น้ำคั้นจากแตงกวา น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำผึ้ง น้ำลอยกลีบกุหลาบ และกลีเซอรีนอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วนำมาใช้ทาบริเวณผิว จะช่วยทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์และตึงกระชับมากยิ่งขึ้น
  6. สูตรผิวนุ่มชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง บรรเทาอาการอักเสบและช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ด้วยสูตรแตงกวาและน้ำผึ้ง โดยการใช้น้ำผึ้ง 8 ออนซ์, น้ำมะนาว 10 หยด และแตงกวาฝานแผ่นบาง ๆ ขั้นตอนแรกให้นำน้ำผึ้งผสมกับน้ำมะนาว แล้วทาลงบนใบหน้าแล้วนวดประมาณ 15 นาที แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออก หลังจากนั้นก็วางแผ่นแตงกวาลงบนใบหน้าทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก โดยแตงกวาจะช่วยดูดซับสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ใต้ผิว ทำให้ผิวเย็น ตึง และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวโดยไม่ทำให้หน้ามัน เมื่อครบ 10 นาทีแล้วก็ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออกอีกครั้งเป็นอันเสร็จ
  7. สูตรกระชับรูขุมขน ด้วยโลชันน้ำผลไม้ ขั้นตอนแรกให้เตรียมน้ำแตงกวา น้ำมะเขือเทศ น้ำแตงโม และน้ำมะนาว อย่างละ 1 ช้อนชา แล้วนำมาผสมให้เขากัน จากนั้นให้ใช้สำลีแต้มส่วนผสมแล้วเช็ดเบา ๆ ให้ทั่วบริเวณใบหน้า ก็จะช่วยสมานผิวทำให้รูขุมขนดูกระชับแทนการใช้โทนเนอร์ได้
  8. สูตรลดรอยด่างดำบนผิว ด้วยการดื่มน้ำจากผลแตงกวา และทาน้ำแตงกวาผสมกับน้ำกลีบกุหลาย (อัตราส่วนเท่ากัน) ลงบนผิวที่มีรอย ก็จะช่วยลดรอยด่างดำบนผิวหนัง และรอยจากการถูกยุงกัดได้
  9. สูตรแก้ปัญหาผิวไหม้จากแสงแดดด้วยโลชันแตงกวา จากสูตรน้ำแตงกวาคั้นผสมกับกลีเซอรีน 1/2 ช้อนชา แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกแดดเผา ก็จะช่วยฟื้นฟูสภาพผิว เพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยลดการอักเสบได้อีกด้วย
  10. สูตรบำรุงผิวรอบดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ด้วยการใช้แตงกวานำมาหั่นเป็นแว่นตามขวาง แล้วนำมาวางบนเปลือกตาแล้วนอนในที่เงียบสลัว ๆ ก็จะช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตาได้เป็นอย่างดี
  11. สูตรลดถุงใต้ตา ด้วยการใช้น้ำคั้นจากผลแตงกวาประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำคั้นจากมันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาทาบริเวณใต้ตาหรือรอบดวงตา ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  12. สูตรลดอาการตาบวม เนื่องมาจากการนอนดึกหรือจากการร้องไห้ วิธีการก็คือให้นำแตงกวาแช่เย็นมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำมาวางบนเปลือกตา หลับตาลงนอนพักทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ก็จะช่วยลดอาการตาบวมได้
  13. สูตรแก้อาการแสบตา ระคายเคืองตา ปวดกล้ามเนื้อตา ใต้ตาคล้ำ ตาแห้ง ตาพร่ามัว ด้วยการใช้แตงกวาแช่เย็นที่หั่นเป็นแว่นมาวางบริเวณดวงตาประมาณ 10 นาที แล้วพักสายตาในห้องมืด ๆ ก็จะช่วยทำให้ดวงตากลับมามีชีวิตชีวาเหมือนเดิม
  14. สูตรลดรอยหมองคล้ำใต้รักแร้ หลังอาบน้ำเสร็จเช็ดตัวให้แห้งแล้วให้เตรียมน้ำคั้นจากแตงกวา 1 ช้อนชา, น้ำมะนาว 1 ช้อนชา, น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ และผงขมิ้นครึ่งช้อนชา แล้วใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าวนำมาเช็ดบริเวณรักแร้ หลังจากนั้นให้ผสมน้ำคั้นแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นให้เข้ากัน แล้วนำมาทาบริเวณรักแร้ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก ควรทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
  15. สูตรป้องกันผมเสียจากคลอรีน ด้วยการผสมไข่ 1 ฟอง, น้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา, เนื้อแตงกวา 1/4 ผล แล้วนำมาชโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก

    วิธีทำน้ำคั้นจากแตงกวา

    • น้ําแตงกวาให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ แตงกวา 2 ผล, น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำมะนาวครึ่งลูก, น้ำแข็ง 1 ถ้วย และน้ำเปล่า 2 ถ้วย
    • นำส่วนผสมที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในโถปั่น แล้วปั่นให้ละเอียดจนเป็นเนื้อเดียวกัน รินใส่แก้ว เป็นอันเสร็จ
    • ปริมาณส่วนผสมดังกล่าวสามารถปรับได้ตามใจชอบ หรือจะใส่ผลไม้ชนิดอื่นอย่างแตงโม แคนตาลูป ฯลฯ ลงไปด้วยก็ได้
    • จากสูตรสามารถใช้น้ำเพียง 1 ถ้วย ปั่นเสร็จเทใส่แก้วแล้วเติมโซดาเย็น ๆ 1 ถ้วยแทนก็ใช้ได้เหมือนกัน
    คำแนะนำ : ถ้าจะนำแตงกวามาปั่นทานทุกวันก็ไม่อาจจะไม่ค่อยเป็นผลดีต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ เพราะแตงกวามีกรดยูริก (ซึ่งอยู่ในน้ำเมือกใส ๆ) โดยเฉพาะถ้าเป็นการนำมาปั่นสด ๆ แล้วรับประทานทุกวัน ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไป ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด ก็จะไปสะสมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแคลเซียมในกระบวนการสร้างเซลล์กระดูก ความแข็งแรงของเม็ดเลือด ผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดอาการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ (ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้ออยู่แล้วก็ควรระวังให้มาก)

กระเจี๊ยบแดง


กระเจี๊ยบแดง ภาษาอังกฤษ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade, Karkade, Vinuela, Cabitutuกระเจี๊ยบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)กระเจี๊ยบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง), กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ส้มพอ ส้มพอเหมาะ เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา

ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง

  • ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง

  • ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบกระเจี๊ยบแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
  • ดอกกระเจี๊ยบแดง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
  • ผลกระเจี๊ยบแดง ลักษณะของผลเป็นรูปรีมีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมาก ประมาณ 30-35 เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มอยู่ เราจะเรียกส่วนนี้ว่ากลีบกระเจี๊ยบหรือกลีบรองดอก (Calyx) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นดอกกระเจี๊ยบนั่นเอง




สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง

  1. กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  2. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
  3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง, ยอดและใบ)
  4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  6. ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  7. เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
  8. ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  9. น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  10. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  11. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
  12. ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ผล)
  13. น้ำกระเจี๊ยบช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  14. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  15. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รีถึง 50%
  16. ช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  17. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ดอก)
  18. ใบใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ, ดอก)
  19. ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำกระเจี๊ยบ)
  20. ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ, เมล็ด, ยอดและใบ)
  21. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยาลดน้ำหนัก เนื่องจากเป็นยาระบายและยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
  22. ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
  23. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
  24. ใบกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ได้จนหมดน้ำยา (ใบ, ผล, ทั้งต้น)
  25. น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด, ยอดและใบ)
  26. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงช่วยในการฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
  27. ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  28. ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  29. ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
  30. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  31. เมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
  32. กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับและช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดด้วยน้ำ (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง สามารถช่วยลดความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  33. ใบใช้ตำพอกฝีหรือใช้ต้มน้ำเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ)
  34. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
  35. สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)
  36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชันของไขมันเลส และยับยั้งการตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง

  1. กระเจี๊ยบมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารโพลีฟีนอล ซึ่งได้แก่ Protocatechuic Acid ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรค
  2. มะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่มได้
  3. กระเจี๊ยบใช้ทำเป็นน้ำดื่มที่ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น เนื่องจากมีกรดซิตริกอยู่ด้วย
  4. ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือจะนำมาใช้ทำแกงส้มก็ได้ ให้รสเปรี้ยวกำลังดี และยังมีวิตามินเอสูง (12,583 I.U. ต่อ 100 กรัม) ที่ช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย
  5. กลีบเลี้ยงผลและกลีบดอกอุดมไปด้วยแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  6. กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นพืชส่งออกโดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมสำคัญสำหรับ Herbal tea และใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้บริโภคภายในประเทศ ใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ชาชง กระเจี๊ยบแดงอบแห้ง กระเจี๊ยบแดงแคปซูล เครื่องดื่มต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ แยม เยลลี่ เบเกอรี ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส เป็นต้น รวมไปถึงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น โลชัน ครีมกระเจี๊ยบแดง เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว เป็นต้น
  7. น้ำต้มของดอกแห้งจะมีกรดผลไม้หรือ AHA อยู่หลายชนิดในปริมาณสูง จึงมีการนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางประเภทครีมหน้าใส
  8. เมนูดอกกระเจี๊ยบแดง เช่น แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ แยมดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม กระเจี๊ยบกวน ชากระเจี๊ยบแดง น้ำกระเจี๊ยบแดง เป็นต้น
  9. ในแอฟริกาใต้มีการใช้น้ำมันจากเมล็ดเป็นยารักษาแผลให้อูฐ
  10. นอกจากนี้ลำต้นของกระเจี๊ยบแดงยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกปอได้อีกด้วย



คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง (กลีบดอก) ต่อ 100 กรัม

  • คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม
  • ไขมัน 0.64 กรัม
  • โปรตีน 0.96 กรัม
  • วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม 2%
  • วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินซี 12 มิลลิกรัม 14%
  • ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม 22%
  • ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม 14%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%

    โทษของกระเจี๊ยบแดง

    • กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
    • น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แม้ว่าจะมีความเป็นพิษต่ำมาก แต่ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณเข้มข้นและติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ

    วิธีทำน้ำกระเจี๊ยบแดงพุทราจีน

    1. ให้เตรียมกระเจี๊ยบประมาณ 1 กำมือและพุทราจีน 1 กำมือ
    2. นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วบีบพุทราจีนให้แตก ให้รวมกันลงในภาชนะแล้วเติมน้ำเปล่า 2 ลิตร
    3. ต้มให้เดือดสักพักแล้วยกลง กรองเอาเนื้อออกให้เหลือแต่น้ำ
    4. เติมน้ำตาลเพื่อปรุงรส หรือจะใช้ใบหญ้าหวาน หรือลำไยตากแห้งแทนก็ได้ เพราะจะได้ความหวานจากธรรมชาติที่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง หรือไม่ต้องใส่เลยก็ได้ เมื่อได้รสตามชอบใจแล้ว ก็ให้นำมาเก็บใส่ขวดแล้วแช่ไว้ในตู้เย็นเอาไว้ดื่ม
    5. สาเหตุที่ใส่พุทราผสมลงไปนั้น เป็นเพราะว่าการต้มกระเจี๊ยบแดงกินแบบเดี่ยว ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะทำให้ไตเสื่อมได้ จึงต้องมีพุทราจีนตากแห้งผสมลงไปด้วย เพื่อเป็นตัวแก้และเป็นตัวช่วยบำรุงไตไปด้วยในตัว

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

กระเจี๊ยบเขียว


 ชวนมารู้จักกระเจี๊ยบเขียว พืชที่อุดมไปด้วยกลูตาไธโอน ราชาสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตำรับยารักษาอาการได้หลายโรค

          กระเจี๊ยบเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus (L.) Moench. อยู่ในวงศ์ Malvaceae มีชื่ออื่น ๆ ว่า กระเจี๊ยบขาว มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือทวาย มะเขือละโว้ ถั่วส่าย เป็นต้น

       กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเอธิโอเปีย แถบศูนย์สูตรของทวีปแอฟริกา อียิปต์ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก และเอเชียใต้ นิยมปลูกมากทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยเฉพาะในประเทศไทยที่สามารถปลูกได้ทุกภาค

          กระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน โฟเลต แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี อยู่ในปริมาณพอสมควร 


 ที่สำคัญกระเจี๊ยบเขียวมีกลูตาไธโอน (glutathione) มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกาย การสร้างสารซ่อมแซมเซลล์ ทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษที่เกิดในร่างกาย และช่วยต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันนิยมใช้สารนี้เพื่อให้ผิวขาวขึ้น เพราะกลูตาไธโอนสามารถกดการทำงานของเอนไซม์ที่ผลิตเม็ดสีได้ชั่วคราว

          นอกจากนี้ กระเจี๊ยบเขียวยังเต็มไปด้วยเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นส่วนของพืชผักที่ร่างกายย่อยไม่ได้ และเส้นใยที่ละลายน้ำได้ เช่น เพกทิน (pectin) และเมือก (mucilage) ซึ่งเกิดจากสารประกอบ acetyated acidic polysaccharide และกรดกาแล็กทูโลนิก (galactulonic caid)


 สารเมือกหรือเส้นใยที่ละลายน้ำได้ของกระเจี๊ยบเขียว เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่ จะช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติกแบคทีเรีย) ซึ่งจะช่วยลดปราณพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย กระเจี๊ยบเขียวจึงจัดเป็นผักสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง

          เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำและละลายน้ำของกระเจี๊ยบเขียว มีคุณสมบัติช่วยการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี โดยเส้นใยที่ละลายน้ำได้มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษและขับถ่ายออกทางอุจจาระ จึงไม่มีสารพิษตกค้างในลำไส้ และสำหรับผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานและคอเลสเตอรอลสูง เส้นใยที่ละลายน้ำในกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่จับอยู่กับน้ำดีได้

          ในประเทศไทย มีรายงานการทดลองเกี่ยวกับการรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด พบสารสกัดจากกระเจี๊ยบเขียวด้วยแอลกอฮอล์สามารถลดจำนวนพยาธิตัวจี๊ดในหนูถีบจักรได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดควรไปพบแพทย์และกินกระเจี๊ยบเขียวเป็นผักติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์     สรรพคุณเด่นที่สำคัญในการใช้เป็นยารักษาโรคของกระเจี๊ยบเขียว คือ การใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน และยังช่วยรักษาอาการปวดท้อง จากแผลในกระเพาะอาหารและแผลจากลำไส้เล็กส่วนต้น

          ในปี 2547 มีรายงานการศึกษาพบว่าสารประกอบไกลโคไซเลต (glycosylated compounds ซึ่งประกอบด้วย โพลีแซกคาไรด์ (polysaccharides) และไกลโคโปรตีน (glycoproteins) ในกระเจี๊ยบเขียว มีฤทธิ์ยับยั้งความสามารถของเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ (helicobacter pylori) ในการเกาะเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้เอง เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่สารไกลโคไซเลต จะมีฤทธิ์ลดลงเมื่อถูกความร้อน

          ยางจากผลสดของกระเจี๊ยบเขียวช่วยรักษาแผลสด เมื่อถูกของมีคนบาดให้ใช้ยางจากฝักกระเจี๊ยบทาแผล แผลจะหายไว และไม่เป็นแผลเป็น

          ส่วนผลอ่อนมีเมือกลื่นทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ชาวบ้านบางพื้นที่นิยมนำมาพอกผิวหนังที่รู้สึกแสบร้อน


ตำรับยาแก้พยาธิตัวจี๊ด
          - ตำรับที่ 1 นำผลกระเจี๊ยบเขียวที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริก หรือทำแกงส้ม แกงเลียง กินวันละ 3 เวลาทุกวัน โดยจะกินเท่าไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยวันละ 4-5 ผล ติดต่อกัน 15 วัน หรือบางคนต้องกินเป็นเดือนจึงจะหาย

          - ตำรับที่ 2 ใช้รากกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเขียว ต้มกิน


ตำรับยารักษาโรคกระเพาะ

          ใช้ฝักอ่อนกะเจี๊ยบเขียวหั่นตากแดดบดให้ละเอียด กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ โดยนำมาละลายในน้ำ นม น้ำผลไม้ หรืออาหารอ่อน ๆ กินวันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร (เวลาละลายจะได้น้ำยาเหนียว ๆ)


ตำรับยาบำรุงข้อกระดูก

          นำผลกระเจี๊ยบเขียว 3 ผล กินสดหรือต้มกับหอมแดงขนาดใหญ่ 1 หัว เพื่อบำรุงร่างกายและเพิ่มความยืดหยุ่นในกระดูก โดยเชื่อว่าเมือกในกระเจี๊ยบจะช่วยได้


 ตำรับยาแก้ปวดท้อง

          ใช้รากกระเจี๊ยบเขียวฝนกับน้ำธรรมดากิน

          การกินกระเจี๊ยบเขียวนอกจากจะได้ความอร่อยแล้ว ยังเป็นการช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ระบบดูดซึมสารอาหาร ลดความเสี่ยงโรคแผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดน้ำหนักและไขมันในเลือดได้ดีอีกด้วย