เกษตรผสมปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก

เกษตรผสมผสานปลูกแล้วกินกินแล้วปลูก เลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ไคโตซาน/ไคติน

 ไคโตซาน (chitosan) ไคติน (chitin) ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1811 โดย Henri Bracannot ด้วยการแยกได้จากเห็ด และในปี ค.ศ. 1823 มีการตั้งชื่อสารที่เป็นพอลิเมอร์ชนิดนี้ว่า ไคติน โดย Odier ที่มาจากคำว่า Chiton ในภาษากรีก แปลว่า เกาะหุ้ม ส่วนไคโตซาน ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1859 โดย Rouget ด้วยการต้มสารไคตินกับโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น ซึ่งเมื่อละลายในไอโอดีน และกรดจะให้สารสีม่วง และตั้งชื่อว่า Modified chitin ต่อมา Hoppe Seyler ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า ไคโตซาน (chitosan)
ไคติน เป็นสารพอลิแซคคาไรด์ที่เป็นสารพอลิเมอร์ธรรมชาติที่ มีความแตกต่างจากโพลีแซคคาไรด์ชนิด เนื่องจากไคตินมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ มีลักษณะโครงสร้างคล้ายเซลลูโลส แต่ต่างกันที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 2 ของเซลลูโลสจะมีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) เกาะอยู่ ส่วนของไคตินจะมีหมู่ acetamide (NH-CO-CH3) เกาะอยู่ไคตินพบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป โดยพบมากในสิ่งมีชีวิตที่มีเปลือกหรือผนังแข็งหุ้มลำตัว เช่น กุ้ง ปู หอย แมลง รวมถึงผนังเซลล์ของเชื้อรา ยีสต์ และสาหร่่าย สารนี้ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างป้องกัน และสร้างความแข็งแรงให้แก่โครงสร้างร่างกาย  




ไคตินในธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. อัลฟาไคติน มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยเรียงซ้อนกันสลับไปมาหลายชั้นในคนละทิศ และแน่น ทำให้มีโครงสร้างแข็งแรงมากที่สุด เช่น ไคตินในเปลือกกุ้ง ไคตินในกระดองปู เป็นต้น
2. เบต้าไคติน มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยเรียงซ้อนกันในทิศทางเดียวกันหลายชั้น แต่ไม่แน่นมากเหมือนชนิดอัลฟา ทำให้มีโครงสร้างแข็งแรงน้อย เช่น ไคตินในปลาหมึก เป็นต้น
3. แกมมาไคติน เป็นไคตินที่มีลักษณะของไคตินอัลฟา และไคตินเบต้า มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยเรียงซ้อนกันไปมาหลายชั้นแบบไม่มีทิศทาง ทำให้มีโครงสร้างแข็งแรงน้อย เช่น ไคตินในเชื้อรา เป็นต้น
     คุณสมบัติการละลายในกรดของไคโตซาน
1. ละลายได้น้อย เช่น กรดฟอร์มิก กรดอะซิติค กรดซาลิซิลิก และกรดโปรไฟโอนิก
2. ละลายปานกลาง เช่น กรดลอริก กรดซิตริก กรดทาร์ทาริก กรดซัลฟูริก และกรดไฮโดรคลอริก
3. ละลายได้ดี เช่น กรดออกซาริก กรดซัคซินิก และกรดเบนโซอิก
ระโยชน์ไคโตซาน และไคติน
ในปัจจุบันนิยมนำไคโตซาน และไคตินทั้งสองรูปมาใช้ประโยชน์ แต่ส่วนมากจะใช้ประโยชน์ในรูปของไคโตซานมากกว่า
1. ทางการแพทย์
– ไคโตซานเป็นสารที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้หลายรูปแบบ สามารถเตรียมได้ในรูปแบบเม็ดเจล ,แผ่นฟิล์มฟองน้ำ, เพลเลท, แคปซูล และยาเม็ด เป็นต้น
– ไคโตซาน และอนุพันธ์ใช้ป้องกันฟันผุ เช่น เอซิลีนไกลคอน-ไคติน, คาบอกซีเมทิล-ไคติน, ซัลเฟตเตด ไคโตซาน และฟอสฟอไลเลตเต็ด ไคติน สามารรถยับยั้งการจับ และก่อตัวของแบคทีเรียบนผิวฟันที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้ดี
– ไคตินหรือไคโตซานซัลเฟตสามารถยับยั้งการแข็งตัวของเลือด และปลดปล่อย lipoprotein lipase โดยนำมาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการฟอกเลือดเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังใช้สำหรับรักษาแผล และป้องกันการติดเชื้อของแผลได้ดี
2. การเกษตรด้านการเกษตรนิยมใช้ไคติน ไคโตซานในหลายด้านด้วยกัน อาทิ
– การใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์พืช ป้องกันโรค แมลง การเน่าเสียจากจุลินทรีย์ และยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
– ใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการเกิดราก
– ใช้สำหรับปรุบปรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารในดิน ปรับปรุงดินเค็ม ปรับปรุงดินที่เป็นกรดเป็นด่าง
3. ยาไคโตซานที่ใช้เป็นส่วนผสมในยาชนิดต่างๆ จะใช้ทำหน้าที่ป้องกันการย่อยสลายของยาบริเวณกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสารควบคุมการปล่อยยาหรือเป็นตัวนำส่งยาเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต
4. อุตสาหกรรมอาหาร– ใช้เป็นอาหารเสริมที่สามารถให้พลังงาน และช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด LDL รวมถึงไขมันจำพวกไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี ด้วยการจับตัวกับกลุ่มไขมันทำให้ลดการดูดซึมบริเวณลำไส้จึงนิยมนำไคโตซานผลิตเป็นอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนัก
– ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร ด้วยคุณสมบัติของไคติน และไคโตซานที่สามารถจับกับเซลล์เมมเบรน ของจุลินทรีย์ ทำให้เกิดการรั่วไหลของโปรตีน และสารอื่นๆออกมานอกเซลล์จนจุลินทรีย์ไม่สามารถเติบโต และลดจำนวนลง
– แผ่นฟิล์มบรรจุอาหาร ด้วยการใช้แผ่นฟิมล์พลาสติกชนิดโพลิเอธิลีนมีข้อเสียทำให้อาหารเน่าเสียเร็ว  เนื่องจากกักเก็บความชื้นไว้ภายใน แต่แผ่นฟิมล์จากไคโตซานสามารถยืดอายุอาหารได้ดีกว่า เนื่องจากสามารถถ่ายเทความชื้นจากอาหารสู่ภายนอกได้ดีกว่า
– สารเติมแต่งในน้ำผลไม้ ด้วยการเติมสารไคโตซานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็น fining agent และควบคุมสภาพความเป็นกรดของน้ำผลไม้ได้ดี
5. เครื่องสำอางด้วยคุณสมบัติของไคติน และไคโตซานที่สามารถอุ้มน้ำได้ดี และการเป็นฟิมล์บางๆคลุมผิวหนังป้องกันการเสียความชุ่มชื้นของผิว รวมถึงฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์จึงนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น แป้งทาหน้า แป้งผัดหน้า สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิว ยาย้อมผม ยาเคลือบผม เป็นต้น
6. ทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วยคุณสมบัติของไคติน และไคโตซานที่สามารถดูดซับ และจับกับสารอินทรีย์จำพวกไขมัน สี รวมถึงสารจำพวกโลหะหนักได้ดีจึงนิยมนำมาประยุกต์ใช้สำหรับเป็นสารกรองหรือตัวดูดซับสารมลพิษในระบบบำบัดน้ำเสีย

ไก่พื้นเมืองหรือไก่บ้าน

ไก่พื้นเมือง หรือเรียกว่า ไก่บ้าน หรือไก่ไทยเป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ 







– เล้ากว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ 30 – 40 ตัว
– เล้ากว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ 6 – 8 ตัวโรงเรือนไก่พื้นเมือง
โรงเรือนนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกที่ควรคำนึงถึง แบบของโรงเรือนควรเป็นแบบที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก ราคาค่อนข้างต่ำ เพราะทำจากวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะสร้างโรงเรือนแบบใด ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. ระบายอากาศร้อนได้ อากาศถ่ายเทสะดวก กันลมโกรก และกันฝนสาดได้ดี
2. อากาศในโรงเรือนควรเย็นสบาย ไม่อับชื้น
3. สร้างง่าย ประหยัดเงิน
4. ทำความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง
5. สะดวกต่อการเข้าไปปฏิบัติดูแลไก่
ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด
2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด
4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต
   
แนวทางการเพิ่มผลผลิต

1. ควรคัดเลือกตัวไก่ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ โดย 
- คัดพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี เช่น ทรวงอกกว้าง สีเหลืองเข้ม และลึก สง่างาม ดวงตาสดใสเป็นประกาย ขนดกมันงาม แข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น
- ใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ในช่วงอายุที่เหมาะสม ไม่หนุ่มหรือแก่จนเกินไป
- แลกเปลี่ยนหรือซื้อหาพ่อไก่ระหว่างหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด


                               
2. จัดการให้แม่ไก่ฟักไข่และได้ลูกไก่ออกมาเป็นรุ่นพร้อมๆ กัน กระทำได้โดย
- ไม่ให้แม่ไก่ฟักไข่ช่วงหน้าร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ของทุกๆ ปี ไข่ที่ได้ในช่วงนี้ให้นำไปบริโภคหรือจำหน่าย หากแม่ไก่มีพฤติกรรมอยากฟักไข่ ให้นำไปจุ่มน้ำเปียกถึงผิวหนังชุ่มทั้งตัว
- แยกลูกไก่ออกจากแม่เมื่อลูกไก่มีอายุ 7-14 วัน โดยกระทำพร้อมกันหรือไล่เลี่ยทุกแม่ จากนั้นนำแม่ไก่ไปขังรวมกัน และกำหนดตัวพ่อพันธุ์สำหรับใช้ผสมพันธุ์ในแต่ละรุ่น ส่วนลูกไก่นำไปเลี้ยงอย่างดี พร้อมให้อาหารเสริม- แม่ไก่ที่ขังรวมกันจะเริ่มไข่ใหม่และไข่ในเวลาใกล้เคียงกัน การจัดการโดยการจับแม่ไก่ไปจุ่มน้ำให้เปียกถึงผิวหนังชุ่มทั้งตัว เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยลดพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของแม่ไก่ และช่วยให้ไข่ชุดใหม่เร็วขึ้น ทั้งนี้ควรให้อาหารเสริมร่วมด้วย
- เมื่อแยกลูกไก่ทุกๆ รุ่นจากแม่ไก่ทุกแม่เช่นนี้ตลอดไป จะได้ลูกไก่ออกมาเป็นรุ่นๆ มีปริมาณมากพอที่จะทำวัคซีนแต่ละครั้ง สะดวกต่อการให้อาหารเสริม และใช้ยาควบคุมหรือป้องกันโรคได้ เมื่อคำนวณคร่าวๆ จะได้ลูกไก่ 7 รุ่น/แม่/ปี หรือประมาณ 70 ตัว/แม่/ปี ซึ่งไม่นับรวมกับไข่ที่นำไปบริโภคหรือจำหน่ายในช่วงฤดูร้อ

3. ทำวัคซีนป้องกันโรคตามอายุไก่ เช่น นิวคาสเซิล ฝีดาษ อหิวาต์ โดยให้ถูกต้องทั้งชนิดของวัคซีน ความรุนแรงของเชื้อ และวิธีการทำวัคซีน
4. ถ่ายพยาธิกับไก่รุ่นและไก่ใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และควรกำจัดหรือทำลายต้นตอของพยาธิภายนอก เช่น หมัด ไร เห็บ ฯลฯ ทุกครั้งที่พบ
วงจรการผลิตไก่พื้นเมือง
ปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
  1. ปัญหาด้านผลผลิตต่ำ มีสาเหตุมาจาก
    - ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์พ่อแม่ ปล่อยให้ผสมเองตามธรรมชาติ สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมที่ไม่ดีต่อเนื่อง
    - การผสมแบบเลือดชิด คือ ผสมระหว่างพ่อแม่กับลูก หรือพี่กับน้อง เป็นต้น มีผลให้สมรรถภาพการผลิตและการสืบพันธุ์ของไก่รุ่นถัดมาต่ำลง
    - ใช้พ่อไก่คุมฝูงนานเกินไป ก่อให้เกิดอัตราการผสมแบบเลือดชิดเร็วยิ่งขึ้น และคุณภาพของน้ำเชื้อพ่อไก่เลวลง จำนวนลูกไก่ที่เกิดจึงมีน้อย
    - ใช้แม่ไก่ทำพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย และปล่อยให้ขยายพันธุ์นานเกินไป
    - อัตราการไข่และการฟักออกเป็นตัวในช่วงหน้าร้อนต่ำมาก ผู้เลี้ยงมิได้ให้ความสนใจและจัดการดูแลเพิ่มเติม
    - ไม่มีการให้อาหารเสริม โดยเฉพาะช่วงแม่ไก่ก่อนออกไข่ และลูกไก่ระยะแรก จึงเกิดความสูญเสียกับลูกไก่จำนวนมาก
    - แม่ไก่เลี้ยงลูกนานเกินไป ทำให้ได้จำนวนรุ่นของลูกไก่ต่อปีน้อย
  2. ปัญหาด้านอัตราการตาย มีสาเหตุมาจาก
    2.1 ไก่เจริญเติบโตดี แต่ยังมีการตายเกิดขึ้น อาจเนื่องจาก
    - ไม่มีการทำวัคซีน
    - ทำวัคซีนไม่ต่อเนื่อง
    - ชนิดของวัคซีนไม่เหมาะกับอายุไก่
    - ทำวัคซีนไม่ถูกเวลา ตัวไก่ไม่พร้อมต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ในช่วงไก่อ่อนแอ หรือขาดอาหาร เป็นต้น
    - เก็บรักษาวัคซีนไม่ดี ทำให้เสื่อมคุณภาพ หรือวัคซีนหมดอายุ
    - ไม่มีการให้ยาหรือสุขาภิบาลไก่เริ่มป่วย
2.2 ไก่มีการเจริญเติบโตไม่ดี แคระแกร็น และตายในที่สุด อาจมีสาเหตุจาก
- อาหารตามธรรมชาติขาดแคลน และไม่มีการให้อาหารเสริม
- มีตัวเบียนรบกวน ทั้งภายในและภายนอก
- ผลจากการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

E M (อี เอ็ม) คือ อะไร

ก่อนอื่นเรามารู้จักที่มาของ EM  กันก่อนนะครับ
ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะแห่งมหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกบั เรื่องส้ม แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาโรคระบาดในสวนส้มได ้ แม้ว่าะพยายามใช้ความรู้ ความสามารถเพียงใดก็ไม่ ได้ผล จนได้รับโอกาสไปร่วมงานเปิดพิพิธภณัฑ์ศิลปะของท่านโมกิจิโอกาดะ(เมซุ ซามะ) เกิดความสนใจ หนังสือเล่มหนึ่งของท่านโมกิจิโอกาดะเขียนไว้เกี่ยวกับการเกษตร ธรรมชาติมีข้อความที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น
• การเกษตรที่ปลอดสารเคมี
• ภัยพิบัติของมนุษย์ชาติและธรรมชาติของโลก
• ความรักของธรรมชาติต่อสรรพสิ่งในธรรมชาติของโลก
• สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

ท่าน ศ.ดร.ทารูโอะ ฮิหงะแห่งมหาวิทยาลัยริวกิวโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มการค้นคว้า เมื่อ พ.ศ. 2510 และได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตในดินที่เรียกว่าจุลินทรีย์ เมื่อ พ.ศ.2525 เป็นการค้นพบเทคนิคการใช้ E.M. (Effective Microorganisms)กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ความสำคัญ ณ จุดนี้คือได้ค้นพบการทำงานของจุลินทรีย์ในธรรมชาติแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
 1. ทำงานแบบสร้างสรรค์เรียกว่ากลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์มีประมาณ10 %
 2. ทำงานแบบเป็นกลาง เรียกว่ากลุ่มเป็นกลางคอยเกื้อหนุน 2 ฝ่ายแรก ทีมีจำนวนมากถึงประมาณ 80 %  3. ทำงานแบบทำลายหรือกลุ่มจุลินทรีย์โรค มีประมาณ 10 %

“กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ” มีจุลินทรีย์ รวมอยู่5 แฟมิลี่10 จีนัส 80 สปีชีส์ในที่นี้จะมีทั้งจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศคือแอโรบิค แบคทีเรีย (Aerobic Bacteria)และจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการ อากาศคืออนาโรบิค แบคทีเรีย (Anaerobic bacteria)


                               สารเร่งสำหรับใช้ทำEM
                                       
E M (อี เอ็ม)
เป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมาบรรจุในภาชนะเดียวกันมีจุลินทรีย์รวมอยู่5 แฟมิลี่10 จีนัส 80 สปีชีส์เพื่อนำไปใช้งานแบ่งออกเป็ น 5 กลุ่มคือ
 1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)
2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก(Lactic acid bacteria)
3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria)
4. กลุ่มจุลินทรีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes)
5. กลุ่มจุลินทรีย์ยิสต์(Yeasts)
ลักษณะทั่วไปของ EM
1. เป็นของเหลวมีสีน้ำตาลแก่ กลิ่นอมเปรี้ยว อมหวาน
2. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมียาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆได ้
3. ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิต เช่น คน สตัว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน ์
4. ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
5. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทุกคนสามารถนา ไปเพาะขยาย เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง
6. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 6 เดือนที่อุณหภูมิปกติที่ 25-45 องศาเซลเซียส โดยปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้า และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็นทุกคร้ังที่นำออกมาใช้จะต้องรีบปิดฝาให้สนิท การขยาย EM ควรใช้ภาชนะและน้ำที่สะอาดและใช้ให้หมดในเวลาที่เหมาะสม
7. ในกรณีที่เก็บไว้หลายวันโดยไม่มีการเคลื่อนไหวในภาชนะจะมีฝ้าขาวๆเหนือผิวน้ำเป็นการพักตัวของเชื้อ เมื่อเข่ยาทิ้งไว้ฝ้าสีขาวก็จะหายเป็นปกติ


                           EMสำเร็จรูปหาซื้อได้ตามร้านเกษตร
ประโยชน์ของ EM ในด้านปศุสัตว์
1. ช่วยกาจดักลิ่นเหมน็จากฟาร์มปศุสตัว์ภายใน 24 ชม.
2. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ใน 1-2 สัปดาห์
3. ช่วยป้องกันโรคระบาดต่างๆในสตัว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่นๆได ้
4. ช่วยกำจัดแมลงวันด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นแมลงวัน
5. ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สตัว์แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูง และอัตราการตายต่ำ

                   EMที่เรานำมาหมักแล้วหรือที่เราเรียกกันว่าน้ำหมักชีวะภาพ

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแบบไม่มีเชื้อ

การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแบบไม่มีเชื้อ
การเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง" แท้จริงแล้ว ใช้วิธีเดียวกันกับการขยายเชื้อ แต่ไม่ต้องใส่หัวเชื้อ...แค่ใช้น้ำเปล่าตากแดด และใส่วัตถุดิบเหมือนกัน..เช่น -ไข่ไก่+น้ำปลา
-ไข่ไก่+รสดี
-ไข่ไก่+ผงชูรส
-ซุปไก่+น้ำปลา
-ซุปไก่+รสดี
-ซุปไก่+ผงชูรส
 แต่ละสูตรจะทำเหมือนๆกันผมจะยกตัวอย่างมาบ้างส่วนนะครับ
 *สูตรไข่ไก่+น้ำปลา
1.ไข่ไก่ 2 ฟองควรเป็นไข่ไก่สด
2. น้ำปลา 2 ช้อนชา
3. น้ำเปล่า 1.5 ลิตร ( ควรตากแดดมาแล้ว 2 วัน)

 - นำไข่ไก่ 2 ฟองทั้งเปลือกใส่ลงเครื่องปั่น หรือทุบไข่ให้แตกตีไข่ให้ฟูใส่ไข่ทั้งลูกไม่ต้องเอาเปลือกออก ใส่น้ำปลาลงไป 2 ช้อนชา
 - นำไข่ที่คนดีแล้ว 1 ช้อนโต๊ะเทใส่น้ำเปล่า 1.5 ลิตร จากนั้นเขย่าขวดให้เข้ากันดีแล้วนำไปตั้งตากแดด 4 สัปดาห์โดยต้องเขย่าขวดน้ำวันละ 2 ครั้งทุกวัน ( ไม่ควรทำในฤดูฝน เพราะไม่มีแดด อาจทำให้ไม่ได้ ผล






จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

    จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นแบคทีเรียพบกระจาย ทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งนาจืด นาเค็ม ทะเลสาบนาเค็ม นาทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง นาที่มี ความเป็นกรด นาพุร้อน ทะเลบริเวณขัวโลกเหนือ นอกจากนี ยังพบตามแหล่งน าเสีย บ่อบาบัดนาเสีย บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสำคัญในกระบวนการนาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี้ ยังมีบทบาท สำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมา ใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทประศุสัตว์สามารถบาบัดด้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Kobayashi, 2000)จุลินทรีย์สีแดงหรือแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (PHOTOSYNTHETIC BACTERIA) ใช้ในงานเกษตรกรรมต่างๆอุตสาหกรรม หลากหลาย ใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลกมานานกว่า 50 ปี โดยเฉพาะญี่ปุ่นให้ความส าคัญกับจุลินทรีย์ตัวนี้ ได้ให้ประชาชน ทุกๆ วงการรู้และเข้าใจในประโยชน์ของจุลินทรีย์นี้อย่างกว้างขวางจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง SUN SMILE เป็นจุลินทรีย์ที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ทั่วไปที่ใช้กันอยู่ เพราะจุลินทรีย์เหล่านั้นส่วน ใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่สามารถทนทานต่อภาวะที่มีแสงได้ ความแข็งแรงและทนทานมีสภาวะที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ ประสิทธิภาพการใช้ในงานต่างๆได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเท่าที่ควร SUN SMILE เป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ได้รับการเลือกสายพันธุ์พิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้ในที่มี แสงสว่างได้ดี และที่มีแสงสว่างน้อย ทั้งที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน PHODOPSEUDOMONAS SP ใช้แสงเป็นแหล่งพลังงานอยู่ในสภาพไม่มีออกซิเจนได้ และยังสามารถตรึง ไนโตรเจนได้ เป็นแหล่งอาหารของพืชและสัตว์ PSUDOMONAS SP สามารถลดระดับไนเตรตที่มีมากเกินพอ (ลดการเน่าเสียและกลิ่นเหม็น)จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแบ่งออกเป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วง(purple photosynthetic bacteria) และ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีเขียว (green photosynthetic bacteria) แต่ สำหรับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วงที่นำมาใช้ในทางด้านการเกษตร และสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่จะอยู่ ในกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วงกลุ่มไม่สะสมกำมะถัน ซึ่งพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติใน ชั้นน้ำที่มีแสงสว่างส่องถึงมีสารอินทรีย์ และพบการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในแหล่งน้ำที่ไม่มีออกซิเจนมี แสงเล็กน้อย ในแหล่งน้ำจืดที่มีซัลไฟด์อยู่จะพบน้อยมาก แต่บางชนิดก็อาศัยอยู่ได้ในที่ที่มีปริมาณ ซัลไฟด์อยู่สูง นอกจากนี้ ยังพบได้ในพื้นดิน สระน้ำ คลอง หรือแหล่งน้ำที่สกปรก เช่น บ่อบำบัดน้ำ เสีย ซึ่งมีปริมาณสารอินทรีย์สูง จึงเป็นแหล่งที่จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่มดังกล่าวเจริญได้ดี เช่น Rhodopseudomonas capsulate , R. sphaeroldesผู้ประสานงานโครงการจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อการเกษตรและ สิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่ามีการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในไทย ประมาณ 30 ปีแล้ว แต่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ EM หรือน้ำหมักชีวภาพซึ่งไม่สามารถจำแนก ได้ว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้างหรือมีคุณสมบัติอะไรที่แน่นอนส่วนการใช้ประโยชน์จากสายพันธุ์แบคทีเรียที่ทราบแน่ชัดนั้น ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้กับการ เกษตร ซึ่งพิสูจน์แน่ชัดว่าใช้ได้ผลจริง โดยใช้เพิ่มผลผลิตข้าวที่เพิ่มถึง 3 เท่า และทำให้เมล็ดข้าวใหญ่ ขึ้น 2 เท่า ทั้งนี้ เพราะแบคทีเรียช่วยปรับสภาพดินให้เหมาะกับการดูดซึมสารอาหารของรากข้าวโดย ย่อยสลายสารเคมีบางตัวที่ต่อต้านการเจริญเติบโตของรากข้าว ซึ่งใช้แบคทีเรียในรูปส่วนผสมของปุ๋ย อินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงยังใช้เป็นอาหารเสริมให้กับสัตว์เนื่องจากแบคทีเรียมีโปรตีนที่จำเป็น ต่อสัตว์ อีกทั้งแบคทีเรียบางสายพันธุ์ยังผลิตสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งมีสีแดงออกส้มเมื่อ ผสมอาหารให้ไก่กินจะช่วยเพิ่มสีให้ไข่แดงของไก่ สารดังกล่าวได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยในปี (2004) ได้รายงานว่า ดินในบริเวณรากข้าวในระยะข้าวตั้งท้อง จะมีสภาวะแบบไม่มี ออกซิเจนทำให้แบคทีเรียที่ในกลุ่มแอนแอโรบิคแบคทีเรียเจริญได้ดี สร้างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ขึ้นมา ทำให้มีผลไปยับยั้งกระบวนการสร้างเมตาโบลิซึมของรากข้าวซึ่งเป็นพิษต่อราก แต่เมื่อน้ำ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใส่ลงในดินในระยะเวลาดังกล่าว จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะเปลี่ยน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ให้อยู่ในรูปสารประกอบซัลเฟอร์ ที่ไม่เป็นพิษต่อราก จึงมีผลให้รากของต้นข้าว เจริญงอกงามมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและลักษณะของต้นข้าวก็มีความแข็งแรง ซึ่งมีผลให้ผลผลิตของ ข้าวมากขึ้น ตามไปด้วยประโยชน์จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง SUN SMILE บ้าบัดน้ำเสีย ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมในการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมทางเคมี ช่วยป้องกัน มลพิษทางอากาศช่วยก าจัดของเสียและแร่ธาตุที่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น คลอไรด์(CHLORIDE),ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (HYDROGEN SULFIDE) หรือก๊าชไข่เน่า,เมอร์แคปตัน (MERCAPTAN) ไดอะมายด์ (DIAMINE) ,ลดค่า BOD ธาตุ โคบอลต์ ค่าความเป็นกรด สารแขวนลอย ฯลฯ

วงการสัตว์น ้าและปศุศัตว์ - ในวงการปศุสัตว์และสัตว์น้ำ นำไปผสมเป็นอาหารเสริมเพราะเซลล์ของจุลินทรีย์นี้ประกอบด้วยโปรตีนสูงถึง ร้อย ละ 60-65 มีกรดอะมิโนที่จ าเป็นครบถ้วนและยังมีวิตามินแร่ธาตุ เช่น วิตามิน บี 1 กรดฟอลิค (B9) วิตามิน ดี วิตามิน บี 2 วิตามิน บี12 วิตามิน อี วิตามิน บี 3 วิตามิน ซี วัตถุสีแดง(CAROTENOID) และให้สารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูนิควิโนน โคเอนไซม์ Q ออกซิน ไซโตไคนิน ซีเอติน กรดบิวทีริกและกรดอะซิติก

เป็นสารอาหารเสริมในสัตว์ แข็งแรง ปลอดโรค โตไว มีคุณภาพเพิ่มผลผลิต - ควบคุมน้ำเสียในบ่อสัตว์น้ำ ลดปัญหาโรคต่างๆในน้ำ อัตรารอดสูงและเพิ่มปริมาณผลผลิตมากขึ้น - กำจัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มทำให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรงต้านทานโรคดี ผลผลิตสูง

วงการเกษตร ใช้ในนาข้าว,พืชไร่,ไม้ผล,ไม้ประดับ ฯลฯ - ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลงถึง 50 % - ลดก๊าชไข่เน่าในดิน ช่วยให้รากพืชขยายได้ดีและกินปุ๋ยได้ดีขึ้น เพิ่มผลผลิตมากขึ้นไม่ต่ ากว่า 30 % - เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการใช้เพิ่มผลผลิตข้าวได้มากถึงไร่ละ 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะดินในบริเวณราก ข้าวจะเกิดแก๊สไข่เน่า(ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งไปยับยั้งการดูดซึมของรากข้าว แต่ SUN SMILE จะไปเปลี่ยนแก๊ส ไข่เน่าให้ไปอยู่ในรูปสารประกอบซัลเฟอร์ที่ไม่เป็นพิษต่อรากท าให้รากข้าวเจริญงอกงามสามารถดูดซึมอาหารให้ ต้นข้าวแข็งแรงและขจัดสารพิษในนา - ส่วนในพืชอื่นๆก็เช่นกันช่วยท าให้รากของพืชแข็งแรงสามารถหาอาหารได้เก่งสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น และ SUN SMILE ยังมีโปรตีนสูงและวิตามินแร่ธาตุมากมาย เป็นประโยชน์กับพืชอย่างมากเพิ่มคุณภาพผลผลิต - พืชมีความแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงต่างๆได้ดี - ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน เช่น ไมคอริซ่า,อาโซโตแบคเตอร์ ฯลฯ





สรุปประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
1. ช่วยลดก๊าซไฮโดรซัลไฟด์ (H2S) ในดินช่วยให้รากของพืชขยายได้ดีและทำให้พืชกินปุ๋ยได้ดีขึ้น
2. ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลง 50 %
3. ช่วยให้ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 % เนื่องจากพืชมีความสามารถในการดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ช่วย ให้พืชมีความแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี
4. เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น B1 B2 B6 B12 กรดโฟลิค วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี รงควัตถุสีแดง (carotenoid) และสารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูบิควิโนน โคเอนไซม์คิวเท็น ไซโตไคนิน ซีเอติน ออกซิน กรดอินโดล -3- อะซิติก (Indole-3-acetic acid : IAA) กรดอินโดล -3-บิวทีริก (Indole-3-butyric acid : IBA) ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช